วัสดุก่อสร้างและความแปรเปลี่ยนในเรือนลาวโซ่ง

Authors

  • จีรศักดิ์ เกื้อสมบัติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

วัสดุ, ความแปรเปลี่ยน, วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, เรือนลาวโซ่ง, material, Local Wisdom, way of life, Cultural, Lao Song's Vernacular House

Abstract

        การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ในความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่มีผลต่อวิธีการก่อสร้างเและการเลือกใช้วัสดุ ตลอดจนภูมิปัญญาต่างๆ ในการก่อสร้างเรือนลาวโซ่ง โดยศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลและเอกสารทางวิชาการ ร่วมกับการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ชุมชนลาวโซ่ง ในพื้นที่ชุมชนชาวไทดำที่จังหวัดเพชรบุรี นำมาประเมิณข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ลักษณะของวัสดุ และภูมิปัญญาต่างๆ ในเชิงเปรียบเทียบ

        ในอดีตชาวลาวโซ่งมีความเป็นอยู่สัมพันธ์กับระบบนิเวศทางธรรมชาติอย่างกลมกลืน วิถีชีวิตที่เกิดจากการพึ่งพาธรรมชาติ ปรากฏชัดสืบเนื่องไปยังความเชื่อและวัฒธรรมความเป็นอยู่ ระบบเศรษฐกิจที่มาจากผลผลิตรทางการเกษตร และภูมิปัญญาการเพาะปลูกที่พึ่งพ้ฟ้าฝน ดังนั้นธรรมชาติจึงเป็นกลไกสำคัญในการดำรงชีวิตของชาวลาวโซ่ง เช่นเดียวกับภูมิปัญญาในการสร้างเรือน ที่ตำแหน่งที่ตั้งต้องสอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ รูปลักษณ์ของเรือนต้องตอบสนองการใช้สอย และสัมพันธ์กับสภาพดินฟ้าอากาศ วัสดุที่นำมาใช้ประกอบเรือนต้องเหมาะสมกับวิธีการก่อสร้าง และภูมิปัญญาที่สามารถสร้างขึ้นจากฝีมือแรงงานของสมาชิกภายในครัวเรือน เป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถหยิบยืมจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง จึงส่งผลให้วัสดุในการสร้างเรือนสะท้อนความเป็นถิ่นที่ได้อย่างชัดเจน

        ในปัจจุบันแม้ว่าการดำรงวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อชาวลาวโซ่งจะยังคงแสดงออกให้เห็นผ่านลักษณะการใช้สอยพื้นที่ภายในตัวเรือนที่ยังยึดถือแบบแผนเดิมไว้ แต่รูปลักษณ์ และเปลือกนอกของเรือนแสดงออกถึงการปรับตัวให้มีความกลมกลืนกับสังคมของคนหมู่มาก โดยในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการก่อสร้ง และการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างเรือน วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นวัสดุอุตสาหกรรมที่มีความสะดวกในการจัดหา และสามารถทดแทนวัสดุธรรมชาติที่ใช้กันมาแต่เดิมซึ่งนับวันจะหาได้ยาก และมีราคาแพง ซึ่งการเลือกวัสดุอุตสาหกรรมที่ถือว่าเป็นวัสดุที่ทันสมัยนั้น ยังสามารถแสดงออกถึงสถานะทางสังคม ที่ถือเป็นค่านิยมของสภาวะสังคมในปัจจุบัน

 

Vernacular Materials and Local Wisdom in Lao Song’s Vernacular House

Jeerasak Kueasombut
Faculty of Architecture, Silpakorn University

        This research aims to study the relationship between the transformation of physical environment and the transformation of social, cultural and economic conditions that play a vital role in the transformation of Lao Song’s vernacular house. The focus of this research lies in the construction technique and the choices of materials, as well as local wisdom within the construction process of Lao Song’s House. The research is conducted by a study of existing research materials relating to the topic, along with the actual physical survey of Lao Song’s House in Petchburi.

        In the past, Lao Song’s way of life was fi rmly attached to the natural environment, which refl ected in their belief and social structure, as well as economic structure that was fi rmly rooted in agricultural products. Nature and its changing cycles had played a vital roles in their daily lives, including the ways in which their homes were being constructed. The ways their homes were located was closely related to the natural topography, while the formal and spatial confi guration responded to the prosaic needs as well as climatic factors. Materials used were matched with the local construction techniques and particular local crafts, which can be done by members of the community. And through the close relationship with local technique and materials, the house became a true refl ection of the local condition.

        Today, changing technology has aff ected the ways in which their houses are built and constructed, as well as their choices of materials. Natural and local materials have been replaced by industrialized materials which are readily available and less costly. Today, even though the Lao Song community still maintains their religious beliefs, as well as other crafts, their houses have been greatly transformed. The house becomes the refl ection of not only their culture, but signifi es their adaptation ability.

Downloads

How to Cite

เกื้อสมบัติ จ. (2016). วัสดุก่อสร้างและความแปรเปลี่ยนในเรือนลาวโซ่ง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 25, 121. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48510

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment