นิเวศวิทยาภูมิทัศน์: การประยุกต์ใช้ในการวางผังภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติในประเทศไทย

Authors

  • อรเอม ตั้งกิจงามวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

นิเวศวิทยาภูมิทัศน์, ถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ถูกแบ่งแยก, โครงสร้าง หน้าที่ และการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์, Landscape Ecology, Habitat Fragmentation, Landscape Structure, Function and Change

Abstract

         การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมและการขยายตัวของเมืองจากอดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศไทยได้ส่งผลกระทบต่อการลดลงของพื้นที่ธรรมชาติ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากขาดแนวทางการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติที่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่พื้นที่ธรรมชาติของประเทศไทยมีขนาดเล็กและขาดความต่อเนื่อง นำมาสู่การสูญเสียถิ่นอาศัยตามธรรมชาติและการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในที่สุด ลักษณะดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แนวทางการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติที่มีอยู่ของประเทศไทยขาดการคำนึงถึงหลักการนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ โดยการใช้หลักการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ธรรมชาติในประเทศไทย

        งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาหลักการนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงการวางผังภูมิทัศน์เข้าสู่การอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบของพื้นที่ธรรมชาติที่ถูกแบ่งแยก โดยคำนึงถึงโครงสร้าง หน้าที่และการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์ ผลการศึกษานำไปสู่การเสนอแนะแนวทางประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อปกป้องรักษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และฟื้นคืนระบบนิเวศทั้งในพื้นที่อนุรักษ์หย่อมพื้นที่ธรรมชาติขนาดเล็กที่เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่หลงเหลืออยู่ พื้นที่ป่าชุมชน พื้นที่ชุ่มนํ้า เส้นทางสิ่งมีชีวิตชายฝั่งลำน้ำ และไม้หัวไร่ปลายนา แนวทางการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 4 ด้าน คือ การอนุรักษ์และจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต การสร้างพื้นที่กันชนระหว่างพื้นที่ธรรมชาติกับพื้นที่ใช้ประโยชน์ของมนุษย์ การจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบพื้นที่ธรรมชาติ และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ธรรมชาติ

 

Landscape Ecology: The Application to Landscape Planning for Natural Area Conservation and Management in Thailand

Ornaim Tangkitngamwong
Faculty of Architecture, Kasetsart University

        Expansion of agricultural and urban areas has depleted natural areas in Thailand. One of the reasons was the lack of suitable planning for natural area conservation and management. This reason led to ecosystem degradation and biodiversity loss. For instance, small and fragmented natural areas have aff ected habitat loss and species extinction. This example refl ects a lack of consideration on landscape ecology in natural area conservation and management. Therefore, research on applying the principle of landscape ecology to suit the context of natural areas in Thailand is necessary.

        This research aimed to study the principle of landscape ecology, which plays an important role to link landscape planning to natural area conservation and management. The impacts of habitat fragmentation were specifi cally focused. Landscape structure, function, and change from the infl uences of natural and manmade factors were reviewed. These results suggested the importance of landscape ecology for protecting the ecological Integrity, enhancing biodiversity and restoring ecology on the protected areas, remnant forest patches, community forests, wetlands, riparian corridors, and hedgerow corridors. Conservation and management strategies covered four issues: 1) conservation and management of plant and wildlife habitats, 2) creation of buff er zone between natural areas and human use areas, 3) land use management around the natural areas, and 4) creation of landscape connectivity between natural areas.

Downloads

How to Cite

ตั้งกิจงามวงศ์ อ. (2016). นิเวศวิทยาภูมิทัศน์: การประยุกต์ใช้ในการวางผังภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ธรรมชาติในประเทศไทย. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 25, 263. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48534

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning