Community’s perspectives about conservation and cultural tourism: Sap Cham Pa Archaeological site, Thailand

Authors

  • Ilada Sarttatat Rajabhat Thepsatri University

Keywords:

community’s perspectives, perceived values and threats, archeological site, ความคิดเห็นของชุมชนท้องถิ่น, คุณค่าและอุปสรรค, แหล่งโบราณคดี

Abstract

        The study focuses on the community’s perceived values and threats on an archeological site - Sap Cham Pa Archaeological Site in Lop Buri Province -with respect to cultural heritage tourism development and conservation. The study was conducted from June 2007 to November 2009. The research methods used include a combination of qualitative and quantitative methods. The Likert scale was used to rank the local perceptions on various aspects of tourism development and conservation. The data were analyzed using SPSS program Version 10.1. The local perspectives about the values of the site were generally positive. The economic value was consistently ranked much higher than the cultural and educational values. The social confl icts among the stakeholders (e.g. between local farmers and the government) were mostly about land ownership and management directions). The Review of Environmental Factors (REF) yielded 12 major threats for SCAS. The tourism threats needing immediate management attention were prioritized using the Recreation Threat Analysis (RTA). Management recommendations were given for each of the prioritized threats to serve as guide for future management of SCAS.

 

ทัศนคติของชุมชนต่อการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม:แหล่งโบราณคดีซับจำปา จังหวัดลพบุรี

ดร. ไอลดา ศราทธทัต
สถาบันราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคืเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนท้องถิ่นที่มีต่อคุณค่าของแหล่งโบราณคดีเมืองโบราณซับจำปา จังหวัดลพบุรี รวมถึงเพื่อศึกษาอุปสรรคต่อการอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552 โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวัดระดับความคิดเห็นของชุมชนท้องถิ่นต่อคุณค่าของแหล่งโบราณคดีทั้งด้านการอนุรักษ์และด้านการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นใช้แบบสอบถามวัดระดับคุณค่าแบบ Likert Scale และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 10.1 ผลจากการศึกษาพบว่า ชุมชนท้องถิ่นมีทัศนคติที่ดีต่อแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ทั้งด้านการอนุรักษ์และการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับคุณค่าของแหล่งโบราณคดีนี้ ทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าคุณค่าในด้านอื่น เช่น คุณค่าทางวัฒนธรรม และคุณค่าทางการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลจากการวิจัยยังพบว่ามีความขัดแย้งทางสังคมระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในด้านการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีแห่งนี้รวมถึงความขัดแย้งในด้านสิทธิการเป็นเจ้าของร่วมกันของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจากชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐ สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดอุปสรรคต่อการอนุรักษ์และพัฒนานั้นใช้วิธีการสำรวจปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Review of Environment Factors) ผลจากการวิจัยพบว่า อุปสรรคต่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณซับจำปามีจำนวนทั้งสิ้น 12 รายการ ส่วนการจัดลำดับความสำคัญในการจัดทำแผนการบริการจัดการอย่างเร่งด่วนนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์อุปสรรคหลักของแหล่งท่องเที่ยว (Recreation Threat Analysis) ผลจากการวิเคราะห์นั้นได้นำเสนอเป็นแนวทางการบริหารจัดการอย่างเร่งด่วนตามลำดับความสำคัญของอุปสรรคในแต่ละรายการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ต่อไปในอนาคต

Downloads

How to Cite

Sarttatat, I. (2016). Community’s perspectives about conservation and cultural tourism: Sap Cham Pa Archaeological site, Thailand. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 25, 455. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48579

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation