ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐาน

Authors

  • ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

การตั้งถิ่นฐาน, ชุมชน, ภูมิศาสตร์, วิทยาศาสตร์ใหม่, หลังสมัยใหม่, เครือข่าย, แบบแผน, ธรรมชาตินิยม, ระบบชีวิต, นิเวศวิทยา

Abstract

        การศึกษาแบบแผนการตั้งถิ่นฐานซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับศาสตร์ว่าด้วยพื้นที่ทั้งหลาย จำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากฐานคิดเดิมที่สร้างขึ้นจากความรู้ทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์กระแสหลักกำลังเสื่อมความเชื่อถือในแวดวงวิชาการ เมื่อเผชิญกับกระแสวิพากษ์อันเข้มข้นจากแนวคิดหลังสมัยใหม่ ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อม และวิกฤตการณ์ทางสังคม อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดังกล่าวจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ปราศจากทิศทางที่แน่นอน บทความนี้คือ เนื้อหาย่นย่อของงานวิจัยขนาดยาว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อมองหาฐานความรู้ทางเลือกในการทำความเข้าใจแบบแผนการตั้งถิ่นฐานที่ก้าวพ้นกรอบคิดกระแสหลัก ในบทสรุป งานวิจัยเสนอแนวทางการศึกษาแบบแผนการตั้งถิ่นฐานที่ผสมผสานแนวพินิจทางประวัติศาสตร์แบบหลังสมัยใหม่เข้ากับแนวคิดธรรมชาตินิยม แนวทางดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจธรรมชาติแบบใหม่ ซึ่งมองธรรมชาติเป็นเครือข่ายอันสลับซับซ้อนของระบบชีวิตที่ทุกสรรพสิ่งเชื่อมโยงกัน และถิ่นฐานชุมชนของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนี้ ความเปลี่ยนแปลงของแบบแผนการตั้งถิ่นฐานสามารถอธิบายได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบชีวิตในธรรมชาติกับการตั้งถิ่นฐาน ในบริบทของความสัมพันธ์ในธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

 

Downloads

How to Cite

ปรียวนิตย์ ณ. (2016). ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐาน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 26, 1. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48641

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning