การปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง

Authors

  • อรศิริ ปาณินท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ลุ่มนํ้าภาคกลาง, ลาวโซ่ง, ลาวพวน, ลาวเวียง, ลาวครั่ง, Central Region Basin, Lao-Song, Lao Phuan, Lao Vieng, Lao Krang

Abstract

        บทความนี้เป็นบทสรุปของโครงการวิจัย “การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางของประเทศไทย” ซึ่งต้องการค้นหาผลสรุปของการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว 4 กลุ่ม คือ ลาวโซ่งหรือไทดำจากเดียนเบียนฟูและเซินลาประเทศเวียดนาม ลาว 3 กลุ่มจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ลาวพวนจากแขวงเชียงขวาง ลาวเวียงจากเมืองเวียงจันทน์และพื้นที่ใกล้เคียงและลาวครั่ง หรือลาวคัง จะเมืองหลวงพระบางและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งอพยพเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ปลายรัชสมัยกรุงธนบุรี ถึงต้นรัตนโกสินทร์ เพื่อตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลาง เนื่องจากพื้นที่ต้นกำเนิดและพื้นที่ตั้งถิ่นฐานในภาคกลางปัจจุบัน มีความแตกต่างทางด้านรูปพรรณสัณฐานภูมิประเทศ และทรัพยากรชีวภาพ เป็นเหตุให้เกิดคำถามวิจัยที่ต้องการความสัมพันธ์ของหลากหลายเนื้อหาในการปรับตัวและวิถีชีวิตในระบบนิเวศใหม่ โดยเน้นมรรควิจัยด้วยการศึกษา สำรวจ และสัมภาษณ์ เพื่อค้นหาคำตอบในการปรับตัวด้านระบบนิเวศ สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมและลงลึกถึงเนื้อหาของผังหมู่บ้าน และเรือนพื้นถิ่น ผลของการศึกษาวิจัยได้ค้นพบว่า การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในลุ่มนํ้าภาคกลาง มีความเหมือนจากผลกระทบจากการพัฒนาด้านการเกษตรที่เน้นการผลิตข้าวส่งเป็นสินค้าออก ซึ่งมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภูมิปัญญาในการเลือกพันธุ์ข้าว ระบบการทำนา ประเพณีและวัฒนธรรมข้าวจางหาย จากผลของการลดลงของเวลาในการพักช่วงของการผลิต สภาพกายภาพหมู่บ้านแปรไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจการเกษตร เรือนเปลี่ยนแปลงตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป การปรับตัวในวิถีชีวิตที่เป็นนามธรรม เช่นความเชื่อของลาวพวน ลาวเวียง และลาวครั่งมีผลกระทบน้อย เพราะอยู่ในวัฒนธรรมหลักเดียวกันกับคนไทยในพื้นที่ แต่ลาวโซ่งซึ่งไม่ได้มีการนับถือศาสนามาก่อน นับถือแต่ผี เปิดรับวัฒนธรรมหลักด้านศาสนาและความเชื่อทั้งจากพุทธและคริสต์ เรือนพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ถูกครอบงำด้วยเรือนไทยและประเพณีในแง่ของรูปทรง แต่แผนผังเรือนยังคงยึดถือตามระบบชีวิตเดิมเป็นส่วนใหญ่ การธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มมีนํ้าหนักต่างกัน เริ่มจากลาวโซ่ง ลาวพวน ลาวครั่ง และลาวเวียงธำรงไว้ได้น้อยที่สุด

 

The Adaptability in the Different Context of the Tai-Lao Ethnic in the Central Region Basin of Thailand

Emeritus Professor Ornsiri Panin
Faculty of Architecture, Kasetsart University

        This paper is the part of the research entitled “Holistic Study for the Adaptability in the Different Context Tai-Lao Ethnic in The Central Region Basin of Thailand”, which emphasized on the conclusion of the adaptability of 4 groups of Tai-Lao Ethnic, Lao Song or Black Tai from Dien Bien Phu, Vietnam. Lao Phuan From Xieng Khuang, Lao Vieng from Vientiane and Lao Krang from Luang Pralang, The Lao PDR, which migrated to Thailand almost two centuries ago to the Central Region Basin of Thailand which appeared totally different in natural context and biological recourses assistant by the usage of triangulation method of study, research questions for the integration of adaptability were raised to fulfill the answers and conclusions of ecology, social, economic, culture and deeply stressed on the content of village plan and vernacular architecture. If was found that main factor which caused the change and adaptability on lives and living of Tai-Lao Ethnic are the Governmental Policy for Agricultural Development. The main goal for maximizing rice export production caused the changes and adaptability in the whole live-cycle. Since the water management, maximizing the transportation route, the change of agricultural technology, increasing the chemical product for crops as well as increasing working time, less of leisure time and riceculture ceremony. These cycles of changes and adaptability also caused the change on village plan and vernacular houses which almost overshadowed by traditional Thai houses. But the chance only Occurred to the houses from, fortunately the way of living which mirrored from the house plan still remain.

Downloads

How to Cite

ปาณินท์ อ. (2016). การปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 26, 201. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48655

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment