ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นทรงไทยในจังหวัดสมุทรสงคราม

Authors

  • กึกก้อง เสือดี นักวิจัยอิสระ
  • Kreangkrai Kirdsiri ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

นิเวศวัฒนธรรม, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, เรือนพื้นถิ่นทรงไทย, Cultural ecology, Cultural diversity, Vernacular Thai-house

Abstract

        “จังหวัดสมุทรสงคราม” เป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยฐานทรัพยากรธรรมชาติ อันเนื่องมาจากความหลากหลายของระบบนิเวศ ส่งผลให้ผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานโดยมีวิถีชีวิตที่แตกต่างแต่สอดคล้องกับระบบนิเวศตามแต่ที่ตั้งถิ่นฐานนั้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนต่างวัฒนธรรม ได้แก่ คนไทย คนมอญ และคนจีน ซึ่งมีการส่งวัฒนธรรมข้ามกัน จนเกิดเป็นกลุ่มสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในบทความชิ้นนี้ได้ศึกษาความหลากหลายดังที่กล่าวมาแล้วผ่าน “เรือนพื้นถิ่นทรงไทย” ภายใต้กรอบคำถามว่า “ภายใต้บริบทที่มีความหลากหลายทางนิเวศวัฒนธรรมและชาติพันธุ์นั้น ได้ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นทรงไทยในสมุทรสงครามอย่างไร”

        ผลการศึกษาพบว่า เรือนพื้นถิ่นทรงไทยมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอาชีพทั้งรูปแบบ การวางผัง ผังบริเวณ และการใช้ที่ว่างภายใน กล่าวได้ว่าเรือนพื้นถิ่นทรงไทยมีการปรับตัว ให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นทรงไทยยังเป็นผลลัพธ์จากความแตกต่างกันทางชาติพันธุ์อีกด้วย โดยแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงสอดแทรกอัตลักษณ์ของกลุ่มตนไว้ ได้แก่ ทิศทางการวางตัวเรือน และการวางผังพื้นที่ว่างภายในเรือน แสดงให้เห็นถึงการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมอันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของตนควบคู่ไปกับการรับวัฒนธรรมการปลูกสร้างบ้านแบบเรือนพื้นถิ่นทรงไทย

 

The diversity of vernacular Thai-house in Samutsongkram province

Kuekkong Suadee
Independent Researcher

Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D.
Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University

        “Samutsongkram Province” is a rich natural resource base. because of the ecosystem diversity. As a result, people came to settle with a different way of life, but it is consistent with the ecosystem, moreover, there are different cultures, including in Thai, Mon, and Chinese, which have the cross-cultural transmission. The result is a multi-cultural society. In this paper, the study examine the range of the previously mentioned areas by “The Vernacular Thai-House” under the question. “How is the cultural ecology diversity effect to the diversity of the vernacular Thaihouse in Samutsongkram province ?”. The study found the vernacular Thai-House is different in each group, both the type, planing, layout and use of space. In other words, the vernacular Thai-House have adaptation to according with lifestyle that related with the environment. Moreover, the diversity of its as a result of ethnic differences as well. Each ethnic group has inserted identity of own group, including the direction of the house, the layout and space within the house which reflect the aboriginal culture as their own unique culture, coupled with acceptation in the cultural of vernacular Thai-House creating.

Downloads

How to Cite

เสือดี ก., & Kirdsiri, K. (2016). ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นทรงไทยในจังหวัดสมุทรสงคราม. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 26, 225. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48660

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment