ศาสนสถาปัตยกรรมในชุมชนเนวาร์
Keywords:
สถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา, กาฐมัณฑุ, เนปาล, Architectural, Buddhist architecture, Kathmandu Valley, NepalAbstract
พื้นที่หุบเขากาฐมัณฑุในประเทศเนปาล เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สั่งสมคุณค่ามาเป็นเวลาหลายพันปี มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านั้นได้สะท้อนออกมาเป็นงานศิลปะ และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมแบบพุทธ และฮินดู นอกจากนี้ โบราณสถานจำนวนมากยังคงถูกใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ และได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ.1978
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาพื้นที่หุบเขากาฐมัณฑุเป็นที่นิยมจากผู้สนใจทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมชาวไทยเป็นอย่างมาก ในบทความนี้จึงพยายามที่จะอธิบาย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะที่เกิดจากการสรรค์สร้างโดยกลุ่มชาวเนวาร์ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งานศิลปสถาปัตยกรรมในพื้นที่หุบเขากาฐมัณฑุ โดยได้แบ่งประเภทของสถาปัตยกรรมตามรูปแบบการใช้งานเพื่อประกอบการทำความเข้าใจ
Sared Architecture in Newar Communities
Patipol Yodsurang
Faculty of Architecture, Assumption University
Over thousand years, the area of Kathmandu Valley carried a rich of cultural resources which was illustrated a wide variety of outstanding art and architectural influences of Buddhism and Brahmanism culture. Many monuments still stand as remarkable features of the traditional living culture. Until 1979, the seven groups of monuments of the Kathmandu Valley were inscribed on the World Heritage List in category (iii), (iv), and (vi).
The Kathmandu Valley is extremely popular amongst Thai travellers who are interested in religion, culture and architecture in the past few decades. This paper tried to explaining and interpreting of the outline of traditional architecture of religious and cultural diversity, particular the Newari’s influences of the creation of masterpiece on art and architecture. The architectural characteristics in this paper will be divided by for the understanding of architecture and its environment.