สถาปัตยกรรมหอพระเจ้านํ้าตกผาลาด วัดผาลาดสกทาคามีเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • Kreangkrai Kirdsiri ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Isarachai Buranaut นักวิจัยอิสระ

Keywords:

สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา, หอพระเจ้าน้ำตกผาลาด, วัดผาลาดสกทาคามี, ดอยสุเทพ, เชียงใหม่, Buddhist Architecture, Hor Phra Chao at the Waterfall of Pha Lat, Wat Pha Lat Temple, Doi Suthep, Chiang Mai

Abstract

        หอพระเจ้าริมนํ้าตกวัดผาลาดสกทาคามี เชิงดอยสุเทพ เป็นอาคารที่สำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธรรมเส้นทางนมัสกาลพระบรมธาตุดอยสุเทพ ด้วยตำแหน่งที่สร้างอยู่ใต้เพิงผาริมน้ำตกผาลาดที่มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่โดดเด่น และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญ จากเพิงผาที่มีประวัติศาสตร์มุขปาฐะ และประวัติศาสตร์จดบันทึกได้กล่าวว่าเป็นที่พำนักของฤาษี และพระภิกษุทั้งหลายมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์ล้านนา

        ต่อมาในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 25 มีการสร้างอาคารรูปแบบพม่าสมัยอาณานิคม เป็นอาคารก่ออิฐ รูปด้านหน้าเป็นวงโค้ง 5 ช่อง และมีการประดับตกแต่งด้วยศิลปกรรมแบบพม่า จากการศึกษายังพบว่า ภายในอาคารเคยประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพาน และพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยอีก 4 องค์ แต่ทว่าเมื่อพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพานดังกล่าวได้สูญหายไป และแม้ว่าอาคารได้พังทลายลง ก็ยังมีการซ่อมแซม และสร้างพระพุทธรูเพิ่มเติมอีกในภายหลังทำให้หลักฐานทางโบราณคดี และซากมรดกทางสถาปัตยกรรมของอาคารมีความซับซ้อนอย่างยิ่ง

 

Architecture of Hor Phra Chao at the Waterfall of Pha Lat, Wat Pha Lat Temple, the Foot of Doi Suthep, Chiang Mai Province


Kreangkrai Kirdsiri, Ph.D

Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University

|sarachai Buranaut

Independent Researcher

        Hor Phra Chao (Bhuddha images shrine) at the waterfall of Wat Pha Lat Temple, situated on the foothill of Doi Suthep mountain ranges, Was an important part in terms of cultural landscapes on pilgrimange route to Phra That Doi Suthep. This structure is outstanding due to its location and has become an important part of cultural landscapes.

        The cliff has its own both oral and written history. It has been believed to be the residence of hermits and monks of Lanna. Later, Burmese influence plays role to the structure of the building during the period of Colonialism. It is a masonry building with five arches. Burmese pieces of arts were decorated. In addition, it was found in the studies that the building was used for the Reclining Buddha image or Entering Parinirvana Buddha image, and four Subduing Mara Buddha images. However, the Reclining Buddha image or Entering Parinirvana Buddha image disappeared. Although the building became deteriorated, it was conserved and reconstructed, while Some Buddha images were also created and stored. As a result, archeological evidences and architectural ruins have become complicated.

Downloads

How to Cite

Kirdsiri, K., & Buranaut, I. (2016). สถาปัตยกรรมหอพระเจ้านํ้าตกผาลาด วัดผาลาดสกทาคามีเชิงดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 26, 301. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/48679

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation