รูปสัณฐานซ้อนทับในย่านสุขุมวิท: ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของเมืองกรุงเทพมหานคร

Authors

  • สิงหนาท แสงสีหนาท ภาควิชาการออกแบบวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

กรุงเทพฯ, สุขุมวิท, สัณฐานเมือง, การศึกษาสัณฐานเมือง, Bangkok, Sukhumvit, Urban Morphology, Morphological Study

Abstract

         กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในตัวอย่างของเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีการตั้งถิ่นฐานที่ประกอบด้วยเส้นทางทางนํ้า รูปทรงสิ่งปลูกสร้าง และอาคารและบล็อกถนนขนาดเล็ก ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงมาสู่ความเป็นมหานครที่มีโครงข่ายความเป็นเมืองขนาดใหญ่ การเดินทางหลักบนถนน สิ่งปลูกสร้างที่มีความหนาแน่นสูงและชุมชนที่ผสมผสานในเชิงยุคสมัยและวิถีชีวิต บทความนี้นำเสนอการศึกษาสัณฐานเมืองของย่านสุขุมวิทซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ของกรุงเทพฯที่มีความซับซ้อนในมิติทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยการศึกษาถึงเหตุและผลในการก่อตัวขึ้นของยุคสมัยทางสัณฐานวิทยา วิวัฒนาการในรูปทรงเมือง วัฏจักรของการพัฒนา การโยกย้ายของประชากร การลงทุน ตลอดจนกิจกรรมหรือกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงในการตั้งถิ่นฐานเหล่านั้น การศึกษาได้บ่งชี้ถึงอาณาบริเวณทางสัณฐานวิทยาที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นของย่านสุขุมวิท ได้แก่ สัณฐานซุปเปอร์บล็อก สัณฐานซุปเปอร์บล็อกควอเตอร์ และสัณฐานซอย แม้ว่ารูปสัณฐานเหล่านี้ก่อตัวขึ้นแตกต่างกันตามลำดับเวลาแต่คงอยู่ซ้อนทับอย่างเป็นลำดับชั้นในพื้นที่เชิงสังคม รูปสัณฐานที่มีลักษณะเฉพาะตัวเหล่านั้นเป็นรากฐานสำคัญของภูมิทัศน์เมือง ความหมาย และการรับรู้ถึงความเป็นสถานที่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางภูมิศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรมภายในย่านเมืองหนึ่งๆ ของกรุงเทพฯ และสะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบชุมชนเมืองที่ควรตอบสนองต่ออัตลักษณ์ในแต่ละรูปสัณฐานเหล่านั้น

 

Superimposed Morphology in Sukhumvit: Diversity of Bangkok Historico-Geography

Singhanat Sangsehanat
Department of Urban Design and Planning, Faculty of Architecture, Silpakorn University

 

         Bangkok is a significant example of rapid urban growth in which its settlement is changing from a city with a series of waterways, small-scale built forms and traditional blocks and buildings into a metropolis comprised of a modern fabric of road networks, high density built forms and highly mixed communities in terms of building periods and lifestyles. This paper presents the morphological analysis for Sukhumvit, an area of Bangkok in which a complexity of physical, social, economic and cultural dimensions is noticeable. The study is undertaken to consider causes and effects involving of morphological periods, evolutions of urban forms, building cycles, migration, investment and agents of change of those settlements. The locally morphological regions are defined, which are superblock morphology, superblockquarter morphology and soi-based morphology. Even though these morphologies are chronologically formed in different ways, they are superimposed to one another as multi-layered socio-spatial patterns. Representing a diversity of urban historicogeography and cultural heritage within a given district of Bangkok, the distinctive morphological patterns are a cornerstone to demonstrate townscape, meaning and perception of places as well as to address that urban design should be responsive to those morphological identities.

Downloads

How to Cite

แสงสีหนาท ส. (2017). รูปสัณฐานซ้อนทับในย่านสุขุมวิท: ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ของเมืองกรุงเทพมหานคร. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 30, D–03. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/65506

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning