เฮียนเสายองหิน: เรือนพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยชาวไทหล่ม บ้านแก่งโตน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • ขนิษฐา ปานศรี หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วีระ อินพันทัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

ไทหล่ม, เรือนเสายองหิน, เรือนไม้ยกใต้ถุนสูง, ตีนเสาหิน, กลุ่มชนชาติพันธุ์ผู้, พูดภาษาตระกูลไท, Tai-Lom, Hian Sao Yong Hin, House on stilt, Tai Ethnic Group, Natural Stone footing

Abstract

         การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยของ “ชาวไทหล่ม” ที่มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้นตั้งเสาบนก้อนหิน หรือที่เรียกในภาษาถิ่นว่า “เฮียนเสายองหิน” โดยศึกษาในที่บ้านแก่งโตน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีเรือนกรณีศึกษาจำนวน 5 หลัง ที่ยังคงคุณลักษณะการเป็นเรือนยกพื้นสูงและตั้งเสาอยู่บนก้อนหินตามเรือนดั้งเดิม ซึ่งเคยได้รับความนิยมในการก่อสร้างอย่างแพร่หลาย ทว่าในปัจจุบันได้ถูกรื้อลงจนเกือบหมดสิ้น

         จากการศึกษาพบว่า ชาวไทหล่มให้ความสำคัญกับลำดับศักดิ์ของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการใช้สอยเช่นเดียวกับกลุ่มชนชาติพันธุ์ผู้พูดภาษาไทและนับถือพุทธศาสนากลุ่มอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านระดับ และการจัดวางลำดับของพื้นที่ การวางเรือนให้ความสำคัญกับแกนตะวันออก-ตะวันตกตามการโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งจุดนี้แตกต่างไปจากคติความเชื่อในการวางเรือนของไทลาวหลวงพระบาง ที่ให้ความสำคัญกับทิศต้นนํ้าและท้ายนํ้า จึงทำให้การวางเรือนจะขนานกับแม่นํ้า ทั้งนี้การจัดวางพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนไทหล่มจึงเรียงลำดับโดยถือเอาทิศตะวันออกเป็นหมุดหมายสำคัญ

         นอกจากนี้ ภูมิปัญญาการก่อสร้างเป็นเรือนยกพื้นสูง และตั้งเสาบนหินนั้นเป็นภาพสะท้อนความสัมพันธ์อันแน่นเหนียวในประวัติศาสตร์ของผู้คนชาว “ไทหลม่ ” กับ “ไทลาว” โดยเฉพาะหลวงพระบาง นอกเหนือจากการบ่งชี้ความสัมพันธ์ด้วยการใช้สำเนียงภาษาพูดซึ่งมีความมีพลวัตไปตามการปฏิสัมพันธ์กับบริบทวัฒนธรรมที่โอบล้อม

 

Hian Sao Yong Hin: Vernacular Dwelling House of Tai-Lom Ban Kang Ton, Lom Kao District, Petchaboon Province

Kanitta Pansri
Master of Arts in Vernacular Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University

Vira Inpuntung
Faculty of Architecture, Silpakorn University

 

         Study on vernacular architecture of “Tai- Lom” dwelling which is the building elevated by stilts on rocks or as known as “Hian Sao Yong Hin” (stilted building on rocks) in local language. The study site is at Ban Kaeng Ton, Lom Kao District, Petchabun Province. In this study, 5 buildings with original characteristics; stilted building on rocks are being used as case study as this type of building construction was popular but nowadays it is all demolished down.

         The study found that Tai Lom Community gives importance to order of space and utilization in the same way as other Tai speakers ethic groups and other Buddhism population. This conclusion is proved by space level and order. Location of the building gives importance to east-west continental axis according to sun’s orbit which this concept is quite different from belief of Tai-Lao Luang Prabang group which gives importance of building location to directions of upstream and downstream, therefore, their houses are built along the river. Utility space of Tai Lom building is arranged in order by giving importance to the East.

         However, besides accent of spoken language which has dynamic effect in relation to surrounding culture, local wisdom of constructing an elevated house on rocks is also a reflection of a long and firm relationship between “Tai-Lom” and “Tai
Lao” groups especially Tai Lao from Luang Prabang.

Downloads

How to Cite

ปานศรี ข., & อินพันทัง ว. (2017). เฮียนเสายองหิน: เรือนพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยชาวไทหล่ม บ้านแก่งโตน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 30, A–235. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/68127

Issue

Section

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม | Vernacular Architecture and Cultural Environment