บทความปริทัศน์ วิธีการศึกษาการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสบาย

Authors

  • พิมลศิริ ประจงสาร ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อเพิ่มความสบาย, สภาวะสบายแบบปรับตัว, พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ, วิธีการวัด, วิธีการจำลอง, Comfort ventilation, Adaptive thermal comfort, Computational Fluid Dynamics (CFD), Measuring methods, Modelling methods

Abstract

         บทความนี้มุ่งทบทวนวิธีการที่ใช้ศึกษาการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อเพิ่มความสบาย (comfort ventilation) ที่พบในเอกสารทางวิชาการในระดับนานาชาติในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ ความสามารถ ข้อจำกัดและข้อพึงระวังของวิธีการต่างๆ รวมถึงเพื่อสำรวจทิศทางในการศึกษาเกี่ยวกับการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับ comfort ventilation มีอยู่สองลักษณะ ประกอบด้วยการสำรวจประสิทธิภาพของ comfort ventilation ที่มีต่อสภาวะสบายของผู้ใช้อาคารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาวะสบายแบบปรับตัว (adaptive thermal comfort) ซึ่งจะใช้วิธีการวัด (measuring methods) ร่วมกับการสำรวจสภาวะสบายเป็นวิธีการศึกษาหลัก และการประเมินการออกแบบอาคารและอุปกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของ comfort ventilation ซึ่งจะใช้วิธีการจำลอง (modelling methods) เป็นวิธีการศึกษาหลัก ทั้งการใช้หุ่นจำลองย่อขนาดและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจำลอง นอกจากนี้ยังพบว่า พัฒนาการของโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) ส่งผลดีต่อการศึกษา comfort ventilation อย่างมากโดยจะเห็นได้จากความหลากหลายและจำนวนของการศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ความถูกต้องของ inputs และการตั้งค่าต่างๆ ของโปรแกรมมีความสำคัญอย่างสูงต่อผลการศึกษา การศึกษาที่ใช้วิธีการจำลองโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของโปรแกรม (software verification) ด้วยเสมอ

 

Review Article
Methods for investigating comfort ventilation

Pimolsiri Prajongsan
Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University

 

         This paper looks at the methods used for investigating the performance of comfort ventilation found in international literatures published over the past 30 years. It is aimed at understanding the principles, capabilities and limitations of the different methods as well as surveying the trend of the study related to natural ventilation in building design. As a result, it was found that there are two main types of comfort ventilation studies: i) evaluating the effects of comfort ventilation on thermal comfort enhancement, in which measuring methods were used together with thermal comfort survey and ii) evaluating the performance of different building and device designs to improve comfort ventilation effectiveness, in which modelling methods were mainly used. It was also found that the development of building simulation software, especially Computational Fluid Dynamics (CFD) is beneficial for comfort ventilation study as can be seen from the increasing number of studies since the modelling software was developed. However a study that uses modelling software as the main tool has to include a section on software verification to show that inputs are correct and software settings are suitable.

Downloads

How to Cite

ประจงสาร พ. (2017). บทความปริทัศน์ วิธีการศึกษาการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความสบาย. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 30, F–03. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/74092

Issue

Section

เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม | Architectural Technology and Innovation