Participatory Place-Making through Action Planning in Klong Bangluang Community, Thailand

Authors

  • Supitcha Tovivich Faculty of Architecture, Silpakorn University

Keywords:

action planning, participatory design, place making, participatory community development, Klong Bangluang, การวางผังเชิงปฏิบัติการ, การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม, การสร้างความเป็นถิ่นที่, การพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม, คลองบางหลวง

Abstract

         Klong Bangluang community is an old canal-sided community located in the inner Bangkok. Due to rapid urbanization, the area has been changing extensively. Recently, the neighborhood has been promoted as a touristic destination and became more popular, although lack of sense of community is evident. The paper is a reflection on the action planning workshops implemented in the community during 2014 to early 2016. The workshops were mainly conducted by students from two courses at the Faculty of Architecture, Silpakorn University. The first one is a B.Arch. selective module titled ‘Community Architecture’. The second one is a selective module titled ‘Conservation of Vernacular Architecture and Community Development’, which is a part of the M.A. & Ph.D. in Vernacular Architecture program. The author is the core lecturer of both modules working in collaboration with other active lecturers. For the former, it focuses on designing and building small-scale furniture or design objects in the community in order to catalyze social interaction amongst community members. For the latter, the approach is to emphasize on a longer-term participatory process in order to strengthen local capacity building and sense of community. At present, the M.A. & Ph.D. students established themselves as a team working closely with the locals. They have received a seed fund of 180,000 Baht from the “City and Community Rehabilitation Program (CCRP)” from Association of Siamese Architects under Royal Patronage (ASA), Community Act Network and the Crown Property Bureau Foundation to continue their place-making work with the community members and other local partners. Their work includes action planning and participatory design on community mapping, community guidebooks, community photography workshops and community-heritage archives. Community empowerment through small design intervention is argued as a key element for participatory place-making and community conservation and development. The paper focuses on process and output of the action planning studios, which emphasizes participation amongst the locals, students, lecturers and other community development partners. In conclusion, reflection on practice in relation to opportunities and challenges of action planning are discussed.

 

การสร้างสำนึกความเป็นถิ่นที่อย่างมีส่วนร่วมชุมชนย่านคลองบางหลวง

สุพิชชา โตวิวิชญ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

         ชุมชนคลองบางหลวงเป็นชุมชนริมคลองที่มีความเก่าแก่ การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุมชนและบริเวณโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ไม่นานมานี้นักชุมชนได้รับการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักต่อคนภายนอกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม “ความเป็นชุมชน” ในชุมชนนั้นยังไม่มีความชัดเจนมากนัก บทความนี้เป็นการสะท้อนผลของการจัดเวิร์กช็อปการวางผังเชิงปฏิบัติการ (action planning) ที่ถูกจัดขึ้นในชุมชน ตั้งแต่ปี 2557 ถึงต้นปี 2559 โดยคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากการบูรณาการการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการสู่ชุมชน ในสองรายวิชา ได้แก่ รายวิชาสถาปัตยกรรมชุมชน ในระดับปริญญาตรี และรายวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการพัฒนาชุมชน ในระดับปริญญาโท-เอก หลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยผู้ เขียนเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบทั้งสองรายวิชา สำหรับรายวิชาสถาปัตยกรรมชุมชนนั้นเน้นที่การออกแบบและก่อสร้างผลงานการออกแบบหรือเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เพื่อกระตุ้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของคนในชุมชน ส่วนรายวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และการพัฒนาชุมชนนั้นเน้นที่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและหนุนเสริมความเข้มแข็งของความเป็นชุมชน ในปัจจุบันกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ได้รวมตัวกันเป็นคณะทำงานที่ทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยได้รับทุนสนับสนุนเพื่อทำกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและความเป็นถิ่นที่ จำนวน 180,000 บาท จากโครงการฟื้นฟูเมืองและย่านชุมชนเก่า จากกรรมาธิการสถาปนิกชุมชน สมาคมสถาปนิกสยามฯ และมูลนิธิทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กิจกรรมที่นักศึกษาร่วมกันจัดเน้นที่กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ เช่น การวางผัง การออกแบบหนังสือนำเที่ยวชุมชน การทำบันทึกของเก่าในชุมชน เป็นต้น การหนุนเสริมอำนาจชุมชนโดยการแทรกแซงด้วยการออกแบบขนาดเล็กถูกใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างความเป็นถิ่นที่ การอนุรักษ์และการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บทความนี้เน้นที่กระบวนการและผลลัพธ์ของการเรียนการสอนแบบเน้นการลงมือปฏิบัติจริงในชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชาวชุมชน นักศึกษา คณาจารย์ และภาคีร่วมพัฒนาอื่นๆ ท้ายที่สุดบทความนี้สะท้อนถึงโอกาสและความท้าทายของการวางผังเชิงปฏิบัติการและการวางผังอย่างมีส่วนร่วมในภาคปฏิบัติ

Downloads

How to Cite

Tovivich, S. (2018). Participatory Place-Making through Action Planning in Klong Bangluang Community, Thailand. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, E–29. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/95443

Issue

Section

การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม | Architectural Heritage Management and Conservation