ศิลปสถาปัตยกรรมมหาเต็งดอจี เมืองสกาย เมียนมา: มรดกความทรงจำอยุธยาในลุ่มอิรวดีในพุทธศตวรรษที่ 24 และการสำรวจสภาพปัจจุบัน

Authors

  • เกรียงไกร เกิดศิริ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิบูลย์ จินาวัฒน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุพจน์ จิตสุทธิญาณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทิพวัลย์ ตั้งพูนทรัพย์ศิริ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อิสรชัย บูรณะอรรจน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิษณุ หอมนาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • Nittha Bounpany คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

จิตรกรรมอยุธยา, พม่า, สะกาย, มหาเต็งดอจี, Ayutthaya paintings, Burma, Sagaing, Maha Thein Daw Gyi

Abstract

         อาคารมหาเต็งดอจีมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์สยาม-พม่าในอดีต ด้วยมีประจักษ์หลักฐานที่แสดงออกถึงช่างฝีมือผู้ถูกฝึกฝนแบบสกุลช่างลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา หรือที่ผู้คนในลุ่มแม่นํ้าอิรวดีเรียกขานถึงว่า “โยเดีย” หรือ “โยดะยา” จากสถานภาพความรู้ที่ผ่านมามีข้อสันนิษฐานไว้ 2 แนวทาง คือ 1) ภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 | คริสต์ศตวรรษที่ 16-18 ในราชวงศ์เยาง์ยาน ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับเหตุการณ์เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2112 | ค.ศ.1569 และ 2) ภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นในหลัง พ.ศ.2310 | ค.ศ.1767 ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั่นเอง

         จากการศึกษาด้วยระเบียบวิธีทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบประวัติศาสตร์บอกเล่าพบว่า อาคารมหาเต็งดอจีสร้างขึ้นในราวประมาณ พ.ศ.2280+- | ค.ศ.1737 ซึ่งก่อนหน้าเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310+- | ค.ศ.1767+- ประมาณ 30 ปี เพราะฉะนั้นจิตรกรรมที่แสดงคุณลักษณะแบบสกุลช่างลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา จึงไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่เมื่อแรกสร้างอาคาร ซึ่งไม่น้อยกว่า 30 ปี หากนับจากเหตุการณ์การกวาดต้อนผู้คนชาวโยดะยามาตั้งถิ่นฐานยังลุ่มแม่นํ้าอิรวดี

         ในการศึกษานี้ นอกจากจะมีข้อเสนอในการกำหนดอายุของจิตรกรรมจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดังกล่าวมาแล้ว ยังสำรวจรังวัดอาคาร เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และเขียนแบบสถาปัตยกรรม รวมทั้งการประเมินสภาพความเสียหายของอาคาร ซึ่งพบว่า ในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤติ ทั้งการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา และการเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเสื่อมสภาพจากการจัดการซ่อมแซมด้วยวัสดุและวิธีการที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับจะนำไปสู่ข้อเสนอต่อการอนุรักษ์และการบริหารจัดการ หรือหากไม่มีโอกาสทำสิ่งใดที่เป็นรูปธรรมได้ ก็จะมีแบบสถาปัตยกรรม และฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาในอนาคต

 

Art and Architecture of Maha Thein Daw Gyi, Sagain, Myanmar: Ayutthaya Artisans in Irradwaddy Basin in Late 18th Century

Kreangkrai Kirdsiri
Pibul Jinawath
Supot Jitsuthiyan
Tippawan Tangpoonsupsiri
Isarachai Buranaut
Wissanu Homnan
Nittha Bounpany
Faculty of Architecture, Silpakorn University

 

        Maha Thein Daw Gyi is significant in terms of history between Siam and Burma in the past. It has included craftsmanship of Ayutthaya war, called Yodia by the locals of Irradwaddy basin. Its mural paintings can be divided into two periods 1) during the 16th-18th century, after the first defeat of Ayutthaya, and 2) after 1767 of the second defeat of Ayutthaya.

         According to historical and architectural research methods, as well as oral history, Maha Thein Daw Gyi was possibly built in 1737, 30 years before the Burmese invaded Siam and Ayutthaya was sacked. Hence mural paintings and craftsmanship of Chao Phraya war were prisoners not created when the construction was firstly built.

         Apart from the study of secondary resources, measurement of the buildings was also made. Building assessment was also surveyd and found the building currently is in bad condition due to improper conservation technique Thus this study can lead to provide sugguesion for conservation and management. In addition, it also can be helpful for further study on relation between Ayutthaya and Burma.

Downloads

Published

2018-01-25

How to Cite

เกิดศิริ เ., จินาวัฒน์ พ., จิตสุทธิญาณ ส., ตั้งพูนทรัพย์ศิริ ท., บูรณะอรรจน์ อ., หอมนาน ว., & Bounpany, N. (2018). ศิลปสถาปัตยกรรมมหาเต็งดอจี เมืองสกาย เมียนมา: มรดกความทรงจำอยุธยาในลุ่มอิรวดีในพุทธศตวรรษที่ 24 และการสำรวจสภาพปัจจุบัน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, A–03. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/96798

Issue

Section

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย | History of Architecture and Thai Architecture