การสื่อสารกับแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในไซต์ก่อสร้าง

Authors

  • ณัฐกานต์ สุรพงษ์พิทักษ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ดรุณี มงคลสวัสดิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นนท์ คุณค้ำชู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

การสื่อสาร, แรงงานต่างด้าว, แรงงานไร้ฝีมือ, ไซต์ก่อสร้าง, การจัดการโครงการก่อสร้าง, Communication, Alien Labours, Unskilled Labours, Construction Site, Construction Management

Abstract

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างกับแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในไซต์ก่อสร้างในปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์ผู้ควบคุมโครงการก่อสร้างและวิศวกรคุมงานของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีสัดส่วนแรงงานต่างด้าว (กัมพูชา พม่า และลาว) เกินร้อยละ 50 ของแรงงานทั้งหมดในไซต์ พบว่า วิธีการสื่อสารในโครงการแบ่งออกเป็น 5 วิธี ได้แก่ 1) การให้หัวหน้าคนงานต่างด้าวทำหน้าที่ล่าม 2) การใช้แบบก่อสร้างภาษาอังกฤษ 3) การสาธิต 4) การจำลองตัวอย่างชิ้นงาน และ 5) การใช้คู่มือ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการสื่อสาร ได้แก่ ระยะเวลาในการทำงานของโครงการ ค่าใช้จ่ายทั้งทางตรง (ค่าผลิตสื่อ) และทางอ้อม (ค่าแก้ไขงานที่เสียหายจากการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ) ประสบการณ์ในการทำงานของแรงงาน และความยากง่ายของข้อมูลที่ต้องการสื่อ จากการศึกษา การใช้ล่าม เป็นวิธีการที่จำเป็นมากที่สุดและถูกใช้ร่วมกับวิธีการสื่อสารแบบอื่นๆ ในเกือบทุกขั้นตอน เพราะทำให้เกิดการตอบโต้แบบสองทางได้ ป้องกันความผิดพลาดจากการตีความของแรงงานเองฝ่ายเดียว แต่การพึ่งพาล่ามที่เป็นหัวหน้าคนงานเท่านั้น อาจเกิดความเสี่ยงกรณีที่หัวหน้าคนงานไม่สามารถอยู่ประจำที่ได้ตลอดเวลา ส่วนการใช้คู่มือ พบว่า มีการจัดทำเป็นภาษาพม่าเท่านั้น

 

Methods of Communication with Unskilled Alien Labours in Construction Sites

Nattakan Surapongpitak
Master of Science Program in Construction Management, Faculty of Architecture, Silpakorn University

Darunee Mongkolsawat
Non Khuncumchoo
Faculty of Architecture, Silpakorn University

 

         The objectives of this research are to study communication methods between construction managers and unskilled alien labours in construction sites. The research was conducted through interviewing construction company’s managers and site engineers where the proportion of alien, i.e. Cambodia, Myanmar, and Laos, perThai labours was higher than 50 percent. There were five communication methods used: 1) using interpreter (headman), 2) construction drawings with English texts, 3) demonstration, 4) mock up, and 5) booklet. Factors affecting communication methods selection were project duration, costs (direct and indirect costs, i.e. cost of media production and lost cost due to ineffective communication), labours’ experience, and the complication of information. The results showed that using a headman as an interpreter encouraging two-way communications was the most necessary in almost every construction process and helped preventing miscommunication. However, the headman could not be available the whole time. Booklets found on sites were in Burmese only.

Downloads

Published

2018-01-25

How to Cite

สุรพงษ์พิทักษ์ ณ., มงคลสวัสดิ์ ด., & คุณค้ำชู น. (2018). การสื่อสารกับแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในไซต์ก่อสร้าง. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, F–21. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/97878

Issue

Section

เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม | Architectural Technology and Innovation