ความแตกต่างของการให้ความหมายและแนวคิดที่มีต่อธรรมชาติของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองและชนบท: กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และจังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • กัตติกา กิตติประสาร ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

ความหมายของธรรมชาติ, แนวคิดที่มีต่อธรรมชาติ, การอนุรักษ์และจัดการภูมิทัศน์ธรรมชาติ, Meanings of Nature, Concepts of Nature, Natural Conservation and Management

Abstract

         บทความเรื่องนี้มุ่งศึกษาความหมายของธรรมชาติของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองและชนบทซึ่งมีความแตกต่างจากแนวคิดของตะวันตกและแนวทางอนุรักษ์ภูมิทัศน์ธรรมชาติแบบตะวันตก เพื่อเข้าใจอิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมของคนไทยในบริบทพื้นที่เมืองและในพื้นที่ชนบท และนำไปประยุกต์ใช้ในกำหนดนโยบายการอนุรักษ์และจัดการภูมิทัศน์ธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบททางสังคม คุณค่าและทัศนคติของคนในแต่ละท้องถิ่น อันช่วยส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม วิธีการศึกษาของบทความเรื่องนี้ คือ การทบทวนวรรณกรรมและการเก็บแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ คนไทยที่อยู่ในชุมชนเมืองและคนไทยที่อยู่ในชนบท จำนวนรวม 751 คน ผลการศึกษาพบว่า คนไทยที่อยู่ในชุมชนเมืองและคนไทยที่อยู่ในชนบทมีการให้ความหมายของธรรมชาติที่แตกต่างกันสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของแนวคิดของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองและชนบทที่มีต่อธรรมชาติ ซึ่งสามารถสรุปได้ 6 แนวคิด คือ “แนวคิดธรรมชาติคือ สิ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือเป็นทรัพยากร” “ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องสงวนรักษาไว้” “ธรรมชาติคือ สภาพแวดล้อม” “ธรรมชาติคือ สุนทรียภาพ” “ธรรมชาติคือ กระบวนการหรือระบบ” และ “ธรรมชาติคือ ปัญญาและจิตวิญญาณ”


Differences of Meaning and Concept of Nature between the Thais Inhabiting in Urban Areas and the Thais Inhabiting in Rural Areas: A Case Study of Bangkok Metropolitan Region and Phetchaburi Province

Kattika Kittiprasan
Department of Urban Design and Planing, Faculty of architecture, Silpakorn University


         This paper looks on the Thai urbane’s and the Thai rural people’s meanings of nature in which differ from Western concepts of nature and Western natural conservation approach in order to understand influences on the Thai urbane’s and the Thai rural people’s behaviors in environment. Their meanings of nature can be applied into natural conservation and management policies in Thai urban and rural areas which is consistent and suitable with social context and the local’s meanings and values. This enhances environmental sustainability. The research methods include both literature review and questionnaire survey. Two key sampling groups in the questionnaire survey are the Thais in metropolitan areas and the Thais in rural areas. They are totally 751 people. The results reveal various meanings of nature between both groups that can be concluded into six concepts of nature: firstly “nature as the functional or resource”, secondly “nature as the inheritance”, thirdly “nature as the surrounded environment”, next “nature as the aesthetics”, then “nature as the process or system”, and finally “nature as the intellectual and spiritual”

Downloads

Published

2018-01-25

How to Cite

กิตติประสาร ก. (2018). ความแตกต่างของการให้ความหมายและแนวคิดที่มีต่อธรรมชาติของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองและชนบท: กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และจังหวัดเพชรบุรี. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 32, D–03. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA-Arch/article/view/97968

Issue

Section

การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง | Urban Design, Landscape Architecture and Urban Planning