Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.
  • บทความจัดทำขึ้นโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้นโดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับนโยบายของวารสาร และผ่านการตรวจข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์หรือตัวสะกดในข้อความและจากการพิมพ์
  • บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้แล้ว จะต้องไม่ปรากฏในสิ่งพิมพ์อื่นใดก่อนจะปรากฏในวารสาร NIDA Journal of Language and Communication หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น
  • กรณีบทความที่เคยนำเสนอในการประชุมวิชาการ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา เช่น สารนิพนธ์ หรือพิมพ์เผยแพร่ในภาษาอื่นๆ ต้องมีการแจ้งไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้กองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการตีพิมพ์หากพบว่าบทความได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนแล้ว
  • กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เขียนทราบภายในเวลา 8 สัปดาห์ นับจากวันที่ส่งบทความ
  • กองบรรณาธิการไม่รับผิดชอบในข้อผิดพลาดในบทความ ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้เขียน ความเห็นใดๆ ที่ปรากฏในบทความเป็นของผู้เขียน มิใช่ของกองบรรณาธิการและคณะภาษาและการสื่อสาร
  • กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ตรวจแก้ไขต้นฉบับในด้านรูปแบบและรายละเอียดของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตามแต่จะเห็นสมควร ถ้าการแก้ไขเกี่ยวข้องกับเนื้อหา จะขอความเห็นชอบของผู้เขียน

คำแนะนำการเตรียมบทความ

  • จัดพิมพ์โดยโปรแกรม Microsoft Word ความยาวไม่ควรเกิน 30 หน้ากระดาษ A4 (ยังไม่รวม เอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนหน้ากระดาษเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบด้านบน 1 นิ้วครึ่ง ด้านล่าง 1 นิ้ว ของซ้ายและขวา 1 นิ้ว ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า ยกเว้นหน้าแรก วางอยู่ขอบบนขวา กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบ double spaced บทความที่เขียนด้วยภาษาไทย ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 พอยต์ ส่วนบทความภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 พอยต์
  • หัวข้อต่างๆ ในบทความให้ใช้ตัวหนา วางตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ หัวข้อย่อยใช้ตัวเอียง วางตำแหน่ง ซ้ายสุดของหน้ากระดาษ แต่ทั้งหมดไม่ต้องใส่ตัวเลขเพื่อแสดงการเรียงลำดับ
  • ผู้เขียนบทความใช้รูปแบบการเขียนบทความและสำนวนภาษาที่เหมาะสมกับลักษณะของบทความ ทางวิชาการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป มีการตรวจทานต้นฉบับแล้วเป็นอย่างดีทั้งรูปแบบและการสะกดคำ
  • ใช้ถาศัพท์หรือคำตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ/หรือ พจนานุกรมที่ได้รับการยอมรับในสาขานั้นๆ
  • การใช้ศัพท์บัญญัติทางวิชาการที่ยังไม่รู้จักแพร่หลาย ควรใช้ควบคู่กับศัพท์ภาษาอังกฤษ เช่น ใส่วงเล็บภาษาอังกฤษ
  • การเขียนชื่อเฉพาะ หรือคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในบทความ หากจำเป็นก็พิมพ์ภาษาเดิมของชื่อนั้นๆ กำกับไว้ในวงเล็บ เช่นไทรบุรี (Kedah) เคปคอร์ด (Cape Cord) เป็นต้น
  • ไม่ควรใช้ภาษาต่างประเทศในกรณีที่มีคำไทยใช้แพร่หลายอยู่แล้ว
  • รักษาความสม่ำเสมอในการใช้คำศัพท์ การใช้ตัวย่อบ่อยครั้งทั้งบทความ

 ***กรณีส่งบทความเป็นภาษาอังกฤษ หากผู้เขียนไม่ใช่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จำเป็นต้องส่งบทความให้เจ้าของภาษาพิจารณาและปรับแก้บทความ ก่อนส่งบทความเพื่อการพิจารณา***


การอ้างอิง

แหล่งข้อมูลทั้งหมดที่อ้างอิงในบทความต้องปรากฏตามลำดับตัวอักษรในรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความโดยใช้ระบบ นาม-ปี หรือระบบ APA ทั้งเรื่อง ผู้เขียนบทความต้องรับผิดชอบความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด ตัวอย่างเช่น

ในเนื้อเรื่อง

เอกสารอ้างอิงภาษาไทยใช้ชื่อต้น หรือทั้งชื่อต้นและชื่อสกุล ส่วนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษใช้เฉพาะชื่อสกุล

  1. ศรัญย์และรัตนา (2552, หน้า 25) แสดงความวิตกกังวลกับการดำเนินกิจกรรม CSR ของธุรกิจว่ายังขาดความเข้าใจต่อความคิดพื้นฐานหรือแรงจูงใจที่แท้จริง (ถ้าผู้เขียนเกิน 2 คน ใช้เฉพาะชื่อแรกแล้วต่อด้วย และคณะ สำหรับภาษาอังกฤษในกรณีนี้ใช้ et al.)
  2. กิจกรรมด้านวัฒนธรรมที่ริเริ่มและดำเนินการโดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ได้บ่มเพาะความคิดสมัยใหม่ให้แก่นักศึกษาหลายสถาบัน (สรณัฐ ไตลังคะ, 2550, หน้า 63)
  3. อาฟเตอร์อิเมจคือการสั่นสะเทือนของอดีตที่พยายามบุกรุกเข้ามาในห้วงเวลาปัจจุบัน (Doane, 2003, p. 58)

ท้ายบท

  • วารสารทางวิชาการ

วารสารทางวิชาการชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิช. (2550). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากหลอมรวมเป็นหนึ่งสู่การผสมพันทาง. วารสารอักศรศาสตร์, 37(1), 16-36

Williams, J. & Severino, C. (2004). The writing center and second language writers. Journal of Second Language Writing, 13(3), 165-172.

  • หนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกันทั้งเล่ม

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). ความหลากหลายของภาษาและชาติพันธ์ในประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

  • บทความหรือบทในหนังสือรวมเล่ม

Bamlund, D. C. (1997). Communication in a global village. in L. A. Samovar & R. E. Porter (Eds.) Intercultural communication: A reader (pp. 27-36). Belmont, CA: Wadsworth.

  • วิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์

ปาริชาติ กัณฑาทรัพย์. (2545). การวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทสตรีในเรื่องสั้นพม่า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

  • บทความวิจัยควรเรียงลำดับตามองค์ประกอบดังนี้ (บทความวิชาการใช้เฉพาะข้อ 1-4 และ 6 โดยเนื้อเรื่องใช้รูปแบบทางวิชาการที่เห็นสมควร)
  1. ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ตัวหนา)
  2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ครบทุกคน พร้อมวุฒิการศึกษาสูงสุดและสถานที่ทำงาน (ระบุเฉพาะในจดหมายนำ)
  3. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 250 คำ
  4. คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 9 คำ
  5. เนื้อเรื่อง (Main Body) ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้
    5.1.    บทนำ (Introduction) บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัยและอาจรวมกับการทบทวนวรรณกรรม (Review of Literature)
    5.2.    วิธีดำเนินการ/ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology)
    5.3.    ผลการวิจัย (Results or Findings)
    5.4.    อภิปรายผล (Discussion) *5.3 และ 5.4 อาจเขียนรวมกันได้
    5.5.    ผลสรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendations)
  6. เอกสารอ้างอิง (References) ใช้ระบบ APA Style สำหรับรายการอ้างอิงภาษาไทย ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเพิ่มข้อความ [in Thai] ที่ท้ายรายการอ้างอิงนั้นๆ

การส่งบทความ

  • ผู้เขียนบทความที่ได้รับการตรวจทานแล้ว ให้ส่งบทความทางระบบอัตโนมัติบนเว็บไซต์ของวารสาร โดยกรอกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน กดปุ่ม browse เลือกไฟล์บทความที่เป็น Microsoft Word หรือสกุล .doc/docx เท่านั้น และกดปุ่ม upload เพื่อส่งบทความ ไม่รับพิจารณาไฟล์ .pdf โดยเด็ดขาด
  • ไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียนและสถานที่ทำงานในตัวต้นฉบับโดยเด็ดขาด ในหน้าแรกให้มีแค่ชื่อบทความและบทคัดย่อเท่านั้น
  • เพื่อป้องกันความผิดพลาดทางเทคนิค ผู้เขียนควรส่งอีเมลอีกครั้งมาที่ [email protected] โดยส่งจดหมายนำ และแนบไฟล์บทความ ในจดหมายนำ ให้ผู้เขียนระบุ ชื่อ-สกุล ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงาน คุณวุฒิการศึกษา (ให้ระบุชื่อปริญญาและสถาบัน) สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ และให้แนบประวัติโดยย่อ
  • กรณีมีผู้เขียนมากกว่า 1 คน ให้ระบุผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ด้วย ซึ่งอาจไม่ใช่ชื่อแรก
  • ในจดหมายนำ ให้ระบุว่า ยินดีให้เผยแพร่ในวารสาร และในกรณีได้รับตีพิมพ์ ให้ส่งข้อความแนะนำผู้เขียน (Notes on Contributors) มาด้วย
  • ผู้เขียนควรส่งต้นฉบับพิมพ์ทางไปรษณีย์อีกทางหนึ่งเพื่อป้องกันการสูญหาย หรือความผิดพลาดทางเทคนิค