วิธีการก่อหนี้นอกระบบด้วยการขายฝากของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
Keywords:
กระบวนการก่อหนี้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝาก, หนี้นอกระบบ, การขายฝาก, เกษตรกร, Non-formal Loan from selling assets, non-formal loan, selling assets with the right of redemption, agriculturistsAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการก่อหนี้นอกระบบด้วยการขายฝากของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีความรู้หรือประสบการณ์ในธุรกิจเงินกู้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝากของจังหวัดอุดรธานี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ประกอบการปล่อยเงินกู้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝากในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 3 ราย และ กลุ่มที่ 2 เป็นเกษตรกรผู้ใช้บริการเงินกู้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝาก จำนวน 100 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแล้วเรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการก่อหนี้นอกระบบวิธีการขายฝากของเกษตรกรโดยมีสาเหตุที่สำคัญ คือ ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ภัยแล้งและต้นทุนทางการการเกษตรสูง ประเภทหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันเงินกู้มากที่สุด คือ ที่ไร่ วิธีการไถ่ถอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ การไถ่ถอนคืนและการไถ่ถอนคืนแล้วเปลี่ยนมือ ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการก่อหนี้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝาก คือ การสูญเสียที่ดินทำกินและอาชีพเกษตรกร ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยวิธีการขายฝาก คือ รัฐควรส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องการมีวินัยทางการเงินและการรู้จักใช้ประโยชน์จากที่ดินของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร
The objective of this research was to study about the non-formal loan from selling assets with the right of redemption of the agriculturists in Udon Thani province. Research tool used was questionnaire. The key informants were people in 2 groups who had knowledge or experience about non-formal loan from selling assets with the right of redemption in Udon Thani province. Group 1 included 3 entrepreneurs who gave non-formal loan by taking the assets which could be redeemed from the agriculturists in Udon Thani province and Group 2 included 100 agriculturists who took the non-formal loan by selling assets which could be redeemed. Content analysis was used to analyze the data, then presented in essay format.
The results showed: The main reason for the agriculturists to take non-formal loan from selling assets with the right of redemption was because of the declining of the agricultural product price, drought and high Production costs. The type of assets which was used the most as collateral was farmland. The way to redeem the collateral asset was redemption and redeeming and placing as collateral with another person. Losing the farmland and the agricultural career could be the impact from this non-formal loan from selling assets with the right of redemption. Therefore, the government should promote financial discipline and provide information to the agriculturists to make use of their farmland for the utmost benefit.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.