การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบของวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • สิริรัฐ สุคันธา Faculty of Business Administration, Chiang Mai University
  • ประทีป พืชทองหลาง Faculty of Business Administration and Liberal Arts, Rajamangala University of Technology Lanna

Keywords:

ผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน กล้วยกรอบ

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับกล้วยกรอบของวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาเครื่องหมายการค้าและฉลากสำหรับบรรจุภัณฑ์กล้วยกรอบของวิสาหกิจชุมชน  พื้นที่วิจัย คือ วิสาหกิจชุมชนกล้วยกรอบ ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกล้วยกรอบ จำนวน 12 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 75 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์

ผลวิจัยพบว่า 1) รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบและสมุนไพร ควรประกอบด้วยชื่อผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ รายละเอียด รูปภาพ ส่วนประกอบ ปริมาตร หรือปริมาณ  รายละเอียดตามข้อบังคับกฎหมาย  โดยบรรจุภัณฑ์ต้องปลอดภัยและรักษาคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความจดจำและดึงดูดความสนใจให้เข้าถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ 2) บรรจุภัณฑ์กล้วยกรอบและสมุนไพรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยเครื่องหมายการค้า ฉลากของบรรจุภัณฑ์และตัวบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่มีซิปปิดอยู่ด้านบน ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน และหากรับประทานไม่หมด ยังเก็บรักษาไว้ได้ โดยยังคงรสชาติและความกรอบของผลิตภัณฑ์ไว้ได้ดังเดิม และสามารถพกใส่กระเป๋าได้โดยสะดวก ไม่เลอะกระเป๋า  มีความสะดวกในการบริโภคและการเก็บรักษา

Additional Files

Published

2018-09-24

How to Cite

สุคันธา ส., & พืชทองหลาง ป. (2018). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบของวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. Local Administration Journal, 11(3), 149–164. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/147058