ผลการดำเนินงานด้านการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ความยั่งยืนในการบริหารเงินสด ความยั่งยืนทางงบประมาณ ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ความเพียงพอของการให้บริการสาธารณะบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานด้านการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ซึ่งพิจารณาจากดัชนีวัดผลการดำเนินงานด้านการเงินใน 4 มิติ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลในแต่ละตัวชี้วัดจากเอกสารด้านการเงินและการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2555-2560 แหล่งข้อมูลมาจากกองคลังและกองแผนและงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อจำแนก จัดกลุ่ม หาความเชื่อมโยง และใช้อัตราส่วน ค่าร้อยละเพื่อบ่งบอกดัชนีวัดผลการดำเนินงานด้านการเงิน
ผลการศึกษาในปีงบประมาณ 2560 พบว่า 1) ความยั่งยืนในการบริหารเงินสดค่อนข้างสูง อัตราส่วนทุนหมุนเวียน เท่ากับ 2.26 และอัตราส่วนเงินสด เท่ากับ 2.93 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี 2) ความยั่งยืนทางงบประมาณ พบว่าระดับการพึ่งพาตนเองทางการคลังค่อนข้างต่ำ มีระดับเงินสะสมเพียงร้อยละ 0.71 และสัดส่วนของรายจ่ายจากภาษีอากรท้องถิ่นที่จัดเก็บเองร้อยละ 0.40-0.55 ของรายจ่ายรวม 3) ความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาวในภาพรวมค่อนข้างดี โดยมีระดับหนี้สินระยะยาวเพียง ร้อยละ 0.15 และอัตราส่วนสินทรัพย์สุทธิที่มีเพิ่มมากขึ้นถึง ร้อยละ 0.81 4) ความเพียงพอของการใช้บริการสาธารณะ ในภาพรวมยังไม่เพียงพอ โดยพบว่าพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 1 คน ต้องให้บริการและดูแลประชาชนประมาณ 1,693 คน และระดับภาษีท้องถิ่นที่ประชาชนต้องช่วยกันแบกรับถึง 633 บาทต่อคน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา 1) ควรมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในเรื่องการเก็บภาษี และกำหนดบทลงโทษแก่เจ้าพนักงานที่ละเลยต่อหน้าที่ 2) ควรจัดทำคู่มือหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกู้เงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 3) ควรจัดบุคลากรให้เพียงพอในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และควรมีการฝึกอบรมหรือส่งเสริมบุคลากรเดิมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
References
ชูรัตน์ พิมพเคณา. (2551). ปัญหาการใช้ทรัพยากรการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม.
ธัญญะ จันทรัตน์. (2552). การบริหารการคลังท้องถิ่น กรณีศึกษาการบริหารการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชิตชัย กิ่งพวง. (2556). สถานภาพปัจจุบันของการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 11(2), 137-167.
วิทยา จิตนุพงศ์. (2559). ปัญหาการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารรัชติภาคย์, 23, 320-331.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2554ก). การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นยุคใหม่. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2554ข). ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการเงินของเทศบาลใน 4 มิติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(11), 1-26.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2557). รายงานประจำปี 2560. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.fpo.go.th/main/About-Us/AnnualReport.aspx
สุนทรชัย ชอบยศ และอัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2558). ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อการกู้ยืมเงินระยะ ยาวขององค์การบริหารส่วนตำบล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(2), 39-59.
Groves, S.M. & M.G. Valente. (1994). Evaluating Financial Condition: A Handbook for Local Government. Washington: International City/County Management Association.
Miller, G.J. (2001). Fiscal Health in New Jersey’s Largest Cities. New Jersey: Cornwall Center Publication.
Translated Thai References
Chantarat, T. (2009). Local fiscal administration Case study of revenue collection management Songkhla Provincial Administrative Organization. Master thesis of Arts, Political Science, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University. (in Thai)
Chitnuphong, W. (2016). Problems in Financial Administration of Local Government Organizations in Thailand. Rajapark Journal, 23, 320-331. (in Thai)
Chopyot, S. and Wongpridi, A. (2015). Citizens’ Attitudes and Perceptions toward Subdistrict Administrative Organizations’Long-term Borrowing: A Case of Subdistrict Administrative Organizations in Mahasarakham Province. Local Administration Journal, 8(2), 39-59.
(in Thai)
Fiscal Policy Office. (2014). Annual Report 2017. Retrieved July 15, 2018, from http://www.fpo.go.th/main/About-Us/AnnualReport.aspx (in Thai)
Kingphuang, P. (2013). The system of Local Government Borrowing. Journal of the Government, 11(2), 137-167. (in Thai)
Krueathep, W. (2011a). Local financial position analysis: Handbook for modern local administrators. Bangkok: The College of Local Government Development, King Prajadhipok's Institute. (in Thai)
Krueathep, W. (2011b). Municipal financial performance indicators in 4 dimensions. King Prajadhipok's Institute Journal, 9(11), 1-26. (in Thai)
Pimpakana, C. (2008). Alternative: The Problems of the Administrative Resources Exercising of Nonkhai Provincial Administrative Organization. Master thesis in Public Administration, Department of Public Administration, Graduate Scool, Khon Kaen University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-24 (2)
- 2019-06-25 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น