ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปัจจัยคุณภาพการบริการ, การตัดสินใจเลือกใช้บริการ, โรงพยาบาลนาบอนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพบริการทั้ง 5 มิติกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล และ 3) ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนที่มาใช้บริการโรงพยาบาล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยความเชื่อถือไว้วางใจได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.04) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการตอบสนองต่อลูกค้า ปัจจัยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ความเป็นรูปธรรมของบริการ ปัจจัยการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้าและปัจจัยความเชื่อถือไว้วางใจได้ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตามลำดับ ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาล มากที่สุด คือ ปัจจัยการตอบสนองต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
Boshoff, C. (2007). A psychometric assessment of e-s-qual: A scale to measure electronics service quality. Journal of Electronic Commerce Research, 8(1), 101–114 57
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3 rd ed.). New York: Harper and Row
Gronroos, C. (2001). Service management and marketing: A customer relationship management approach. Chichester: Willey.
Irfan, S. M., Ijaz, A. & Farooq, M.M. (2012). Patient satisfaction and service quality of public hospitals in Pakistan: An empirical assessment. Middle-East Journal of Scientific Research, 12(6), 870 – 877.
Kazemi, N., Ehsani, P., Abdi, F.& Bighami, M.K. (2013). Measuring hospital service quality and its influence on patient satisfaction: An empirical study using structural equation modeling. Management Science Letters, 3(7), 2125 – 2136.
Kaushal, K. S. (2016). The measurement of perceived service quality of patients in the government districts hospital in Eastern Uttar Pradesh. International Journal of Cowmmerce and Management, 10(1), 39 – 50.
Kotler, P. (2000). Marketing management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2012). Marketing management, pearson education. New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Kendallvill: Pearson.
Ministry of Public Health. (2019). The twelfth national health development plan (2019 – 2021). Nonthaburi: The War Veterans Organization of Printing Mill. (In Thai).
Nakhon Si Thammarat Province Provincial Public Health Office. (2018). Official document of the ministry-level round 1 for annual 2018. Nakhon Si Thammarat: Paper Print, Ltd. (In Thai)
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perception and expectation. New York: The Free Press.
Sabine, K. (2012). MKT 301: Strategic marketing & marketing in specific industry contexts. Mannheim, Germany: University of Mannheim.
Sirinakhon, R. (1998). The development of hospital image by focusing on quality. Bangkok: Nursing and Midwifery Council press. (In Thai).
Vanichbuncha, K. (2008). Statistical analysis: Statistics for management and research. Bangkok: Chulalongkorn University press. (In Thai).
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Yousapronpaiboo, B. & William, C. J. (2013). Out-patient service quality perceptions in private Thai hospitals. International Journal of Business and Social Science, 4(2), 57-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น