เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการแบบร่วมมือในการแก้ไขปัญหาวิกฤตโควิด 19: วิเคราะห์จากผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสองระดับ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการแบบร่วมมือ, การแพร่ระบาดโควิด-19, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการแบบร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเลือกกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนร่วมจำนวน 22 คน วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาความสอดคล้องระหว่างความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการแบบสามเส้า จากการศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการแบบร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 1. เงื่อนไขการก่อเกิดความร่วมมือ ได้แก่ (1) อำนาจหน้าที่ ทรัพยากร และศักยภาพที่แตกต่างกันของภาคีที่เกี่ยวข้อง (2) แรงจูงใจในการสร้างความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้อง และ (3) ภูมิหลังของการร่วมมือกันของภาคีที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย 2. เงื่อนไขด้านการพัฒนาความเป็นสถาบันของภาคีที่เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย และ 3. เงื่อนไขด้านภาวะผู้นำในการอำนวยความสะดวกในการระดมความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ
References
ภาษาไทย
สถาบันพระปกเกล้า. (2564). รายงานสถานการณ์ การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564 : บทสำรวจว่าด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติโควิด-19. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
เทศบาลเมืองหัวหิน. (2563). ข้อมูลเทศบาลเมืองหัวหิ. สืบค้นจาก https://www.huahin.go.th /new/content/general.
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง. (2564). ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.abt-wiangthoeng.go.th/index.php.
ภาษาอังกฤษ
Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative governance in theory and practice. Journal of public administration research and theory, 18(4), 543- 571.
Emerson, K., Nabatchi T. and Balogh, S. (2011) “An Integrative Framework for Collaborative Governance”, Journal of Public Administration Research and Theory, 22, 1 – 29.
Perry, J. L. (2007). Democracy and the new public service. The American Review of Public Administration, 37(1), 3 – 16.
Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding Governance, Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Buckingham: Open University Press.
Sullivan, H., & Skelcher, C. (2002). Working Across Boundaries: Collaboration in Public Service. New York: Palgrave Macmillan.
Translated References
Hua Hin Municipality. (2021). Information of Hua Hin Municipality. Retrieved form
https://www.huahin.go.th/new/content/general.
King Prajadhipok's Institute. (2021). Decentralization Report in 2021: Exploration Chapter on the Role of Local Government Organizations in Managing the COVID-19 Crisis. Bangkok: King Prajadhipok's Institute
Wiang Sub-District Administrative Organization. (2021). Information of Wiang Sub-district Administrative Organization. Retrieved form http://www.abt-wiangthoeng.go.th/index.php.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการบริหารท้องถิ่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น