ความสัมพันธ์ของการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินการทางวินัย : ศึกษากรณีการชี้มูลความผิดในทางวินัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คำสำคัญ:
การดำเนินคดีอาญา, การดำเนินการทางวินัย, คณะกรรมการ ป.ป.ช., ทุจริตต่อหน้าที่บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษากรณีของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ซึ่งกำหนดให้หน้าที่และอำนาจในการชี้มูลความผิดทางอาญาและความผิดทางวินัยกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ในการยุติธรรม โดยเฉพาะเรื่องความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ซึ่งสามารถชี้มูลความผิดทั้งทางอาญาและทางวินัยพร้อมกันไป ผลการศึกษาเปรียบเทียบหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินการทางวินัยพบว่ามีความแตกต่างกัน อีกทั้งการศึกษาของกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นแบบอย่างขององค์กรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยเน้นการดำเนินการทางอาญา ส่วนฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีแนวทางการดำเนินการทางวินัยโดยให้เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานต้นสังกัด แต่การศึกษาของประเทศไทยกลับให้มีหน้าที่และอำนาจในการชี้มูลความผิดทางวินัยด้วย ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรอย่างแท้จริงและเป็นการเข้าไปแทรกแซงอำนาจที่แท้จริงของหน่วยงานต้นสังกัดของข้าราชการพลเรือนสามัญด้วย ดังนั้น จึงควรแก้ไขบทกฎหมายโดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่และอำนาจในการไต่สวนและวินิจฉัยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาทางอาญาเท่านั้น
References
Academic Office. (2017). Hong Kong Special Administrative Region and the prevention and suppression of corruption. Office of the Secretariat of the House of Representatives. https://www.parliament.go.th/library
Amornwat, P. (2016). Legal principles regarding disciplinary action. Winyuchon. (In Thai)
Chaiyo, S. (2012). The relation between inquiry officials and public prosecutors: The consultation process in important criminal cases (Master's thesis, Thammasat University). (In Thai)
Chutinan, A. (2014). Criminology and penology (2nd ed.). Winyuchon. (In Thai)
Civil Service Commission. (2016). Disciplinary action of civil servants according to the Civil Service Commission Regulations on Disciplinary Action 2013. Civil Service Commission. (In Thai)
Hong Kong ICAC. (n.d.). Organisation. https://www.icac.org.hk/en/ops/duty/index.html
Limkanjanapan, C. (2002). Problems arising from the jurisdiction and procedure of the National Anti-Corruption Commission [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. (In Thai)
Likasitwatanakul, S., et al. (2008). Study project to develop a check and balance system in the criminal justice process [Research report submitted to the Thailand Research Fund]. (In Thai)
Minakanit, T., & Boonmee, R. (2021). General criminal law (22nd ed.). Winyuchon. (In Thai)
Na Nakhon, K. (2017). General criminal law (6th ed.). Winyuchon. (In Thai)
Office of Disciplinary Standards. (2008). Disciplinary procedures manual (3rd ed.). Secretary-General of the Office, Civil Service Commission. (In Thai)
Pairote Acharaksa. (2019). Civil service discipline. Nititham. (In Thai)
Puttaraksapaiboon, D. (2020). Legal problems on the review of resolution in disciplinary offense of the Public Sector Counter Corruption Commission and appeal against discretion in determining punishment [Master’s thesis, Sripatum University]. (In Thai)
Rattanawan, P. (n.d.). Issues on the extension of corruption cases and procedures for the inquiry of facts of the National Anti-Corruption Commission of Thailand [Master’s thesis, Thammasat University]. (In Thai)
Sanongkoon, K. (2013). The extent of powers and duties of the National Anti-Corruption Commission in inquiring and deciding on disciplinary offenses of civil servants [Master’s thesis, Thammasat University]. (In Thai)
Srisanit, P. (2020). Advanced criminal law (3rd ed.). Winyuchon. (In Thai)
The Independent Commission Against Corruption Ordinance. (1974). Hong Kong e-Legislation. https://www.elegislation.gov.hk/hk/cap204?xpid=ID_1438402828573_002
The Prevention of Corruption Act 1960. (1960). Singapore Statutes Online. https://sso.agc.gov.sg/Act/PCA1960
Wongthanawasu, S., & Polsim, S. (2019). The roles of anti-corruption agencies in Singapore, Hong Kong, and the Republic of Korea. College of Local Administration, Khon Kaen University. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหารท้องถิ่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งรูปเล่มและบทความออนไลน์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น