รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • ธนภูมิ ธราวุธ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ศิริชัย เพชรรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • กาสัก เต๊ะขันหมาก ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Keywords:

การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, Communal and Societal Strengthening, Sufficiency Eeconomy Philosophy

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้และนำเสนอรูปแบบความเข้มแข็งของชุมชน และสังคมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ จากการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น 86 คน พร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูล 20 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แบบอุปนัย และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาของตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการมีผู้นำที่มีความสามารถ มีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่าดั้งเดิม ศาสนา และเศรษฐกิจชุมชนที่พึ่งพาเอื้อเฟื้อกันและกัน โดยแต่ละชุมชนได้ใช้ศักยภาพของตนเองเข้าคลี่คลายและจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากองค์กรภายนอก โดยมีหลักการแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Communal and Societal Strengthening Model Based on the Sufficiency Economy Philosophy: A Case Study of Suphan Buri Province

This study aims at examining the application and presentation of communal and societal strengthening model in accordance with the sufficiency economy philosophy in Suphan Buri. This study employed quantitative and qualitative research methods by means of documentary review, a survey of 86 people, in-depth interviews of 20 people, and focus group meetings of 15 people. Analytical techniques included descriptive statistics, correlation analysis, content analysis, inductive analysis, and synthesis of qualitative and quantitative data. The findings indicate that the communities have the capacity to manage their own problems to a certain degree through capable leaders, culture-based collaborative learning, strong traditional values, religious beliefs, and reciprocity. Each community has effectively applied the concept of sufficiency economy philosophy for solving communal problems with support from external organizations.

Downloads

Published

2017-03-27

How to Cite

ธราวุธ ธ., เพชรรักษ์ ศ., & เต๊ะขันหมาก ก. (2017). รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. Local Administration Journal, 10(1), 34–52. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88222