ปัญหากฎหมายการจำกัดสิทธิเลือกตั้งของภิกษุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
Keywords:
ภิกษุ, การเลือกตั้ง, หลักความเสมอภาค, การเลือกปฏิบัติ, สิทธิพลเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, Monks, Election, Principles of Equality, Discrimination, Civil Rights, Political ParticipationAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายการจำกัดสิทธิเลือกตั้งของภิกษุตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยศึกษาข้อมูลจากการเอกสารทางกฎหมาย ทฤษฎีทางกฎหมาย เอกสารประกอบการพิจารณาร่างกฎหมาย ตำรากฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและสิทธิทางการเมืองของภิกษุไทยและต่างประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า การจำกัดสิทธิเลือกตั้งของภิกษุ ขัดต่อหลักความเสมอภาค อันเป็นหลักการสำคัญในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานสำคัญในทางการเมือง ในหลักสากลการเลือกตั้ง รัฐจะต้องให้พลเมืองทุกคนสามารถเข้าร่วมในการเลือกตั้งได้ และห้ามมิให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่มีผลเป็นการตัดสิทธิของบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดออกไปจากการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งโดยเห็นควรในภายภาคหน้า เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจำกัดสิทธิภิกษุมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นควรได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และควรคำนึงถึงสิทธิพื้นฐานของความเป็นพลเมืองที่รัฐต้องให้การสนับสนุนและคุ้มครอง ประกอบกับหลักความเป็นสากลในการเลือกตั้งที่ให้ความสำคัญกับพลเมืองของรัฐเพื่อให้สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้อย่างทั่วถึง และรัฐต้องส่งเสริมไม่เฉพาะภิกษุในการเลือกตั้ง แต่ต้องให้สิทธิเลือกตั้งแก่ประชาชนทุกคนในรัฐที่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเองได้โดยใช้เกณฑ์อายุในการกำหนดคุณสมบัติ
Legal Problems on the Restriction of Election Right of the Monks under the Constitution of the Kingdom of Thailand
The objectives of this study were to analyze legal problems regarding election rights restriction of the monk under the constitution of the kingdom of Thailand by studying legal documents, legal theories, supporting documents for legal drafting, Thai and foreign legal text books, and research studies on political role and rights of Thai and foreign monks.
The results reveal that the restriction of election rights of the monks is contrary to the principles of equality, which is essential to democratic government. Since the right of election are a fundamental political right of citizens according to the universal principle relating to the election, the state must allow all citizens to participate in the election and prohibit any rules that deprive any group of people the right of election. Therefore, the author suggests that in the future, when drafting the next constitution, restricting the election right of the monks, as well as the fundamental rights of the citizens, should be taken into consideration. In addition, the state should promote and protect not only the monks’ right of election, but also citizens’ right to vote by using age as a criterion for voter eligibility.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.