คุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะยากลำบาก (Quality of Life of Elderly Families Facing with Difficulties)

Authors

  • กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล 25/25 พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
  • จุฑาธิป ศีลบุตร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสขุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จิราพร ชมพิกุล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมชาย วิริภิรมย์กูล สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ประสบสภาวะยากลำบาก, Quality of life, Elderly facing with difficulties

Abstract

การศึกษาวิจัยรูปแบบเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะยากลำบาก ด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวผู้สูงอายุเลี้ยงดูเด็กตามลำพัง และครอบครัวผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กันตามลำพัง จำนวน 4561 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOI_BREF_THAI) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาและ ไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่า  ครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะยากลำบาก มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และโดยรวม อยู่ในระดับไม่ดีนักและพบว่า ปัจจัยทาง ด้านอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ และลักษณะครอบครัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะยากลำบาก


Quality of Life of Elderly Families Facing with Difficulties

This descriptive research was conducted in order to: 1) study the quality of life of elderly families living with difficulties, especially with physical and mental health problems, and in unsuitable living environments; and 2) determine variables that affect the quality of life of the elderly. A standard questionnaire, HOQOI_BREF_THAI, was used to assess the quality of life of a sample of 4,561 elderly who lived with a child of less than 18 years of age as custodians or those without children who either lived alone or with another elderly person. Descriptive statistics and Chi-square were used in data analysis.

As one might expect, the study shows that, on the whole, these people did not enjoy a particularly good life. They were fraught with health problems, for some both physically and mentally. They did not enjoy good social relations in their own community, nor did they like their own living situation. The study indicates that age, sex, education, marital status, occupation and family type all were statistically significant and related to quality of life among these elderly.

Downloads

Published

2016-09-29

How to Cite

สุทธิสุคนธ์ ก., ศีลบุตร จ., ชมพิกุล จ., ธรรมอภิพล เ., & วิริภิรมย์กูล ส. (2016). คุณภาพชีวิตของครอบครัวผู้สูงอายุที่ประสบสภาวะยากลำบาก (Quality of Life of Elderly Families Facing with Difficulties). Local Administration Journal, 9(3), 20–35. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88230