ปัญหาของกระบวนการในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ของเทศบาลเมืองบัวขาวโดยภาคประชาชน (Problems in the Process of Citizen Oversight of Performance of Bua-khao Municipality Administration)

Authors

  • กตัญญู แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Keywords:

การตรวจสอบของประชาชน, Citizen oversight of performance

Abstract

บทความนี้นำเสนอปัญหาของกระบวนการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาคประชาชน โดยใช้พื้นที่ของเทศบาลเมืองบัวขาวเป็นพื้นที่ศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสัมภาษณ์แบบหยั่งลึก การสนทนาประชุมกลุ่มย่อย และเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำการโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานของผู้บริหารเทศบาลอยู่ที่ประชาชน 1) ไม่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล 2) ไม่ทราบงบประมาณที่เทศบาลได้รับจัดสรร 3) ไม่ทราบว่าในแต่ละปีเทศบาลมีการจัดซื้อจัดจ้างอะไรบ้าง 4) ไม่ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากทางเทศบาล 5) ไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของเทศบาล  และ 6) ไม่ทราบขั้นตอนการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่น ปัญหาเหล่านี้ควรจะได้รับการแก้ไขโดยการกำหนดให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการให้ข้อมูลข่าวสารและเสริมสร้างความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดีและกำหนดให้ภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการดำเนินการตามกระบวนการร้องเรียนและถอดถอนผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

Problems in the Process of Citizen Oversight of Performance of Bua-khao Municipality Administration

This article delineates the problems in the process of citizen oversight of the performance of local administration organizations, focusing on Buao-khao Municipality. Data for the research upon which this article was based were collected by in-depth interviews of a sample of 400 purposively selected residents, from focus group discussions, and from existing documents. Analysis of data was carried out using frequency counts, percentages, mean values, and standard deviation.

Results from this research indicate that the problems in the process of citizen oversight of the performance of the administrators of the municipality stem from the fact that the majority of the citizens did not have: 1) an opportunity to participate in municipality development planning, 2) information about the budgets of the municipality, 3) information or details about the procurements done by the municipality, 4) other pertinent information from the municipality, 5) a clear view of the role and function of the municipality, and 6) a clear understanding of the recall process. To rectify these problems, the state must provide the necessarily information to educate the people in order to allow them to be good citizens. In addition, in order to file complaints and to recall administrators of the municipality, it is necessary that the state serves as a facilitator in the process and act on behalf of the people.

Downloads

Published

2016-09-29

How to Cite

แก้วหานาม ก., & แก้วหานาม พ. (2016). ปัญหาของกระบวนการในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ของเทศบาลเมืองบัวขาวโดยภาคประชาชน (Problems in the Process of Citizen Oversight of Performance of Bua-khao Municipality Administration). Local Administration Journal, 9(3), 71–84. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88232