The Factors that Impact the Exportation of Electric Appliances to the Lao People's Democratic Republic (ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
Keywords:
Exporting the electric appliances, the Lao people's democratic republic, การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวAbstract
The objectives of this research are: 1) to explore problems hindering the exporting of electric products from Thailand to the Lao People’s Democratic Republic 2) to analyze the roles of the organizations responsible for the transportation of electric appliances 3) to observe issues, policies, problems, and factors important to the management of the electric products appliance delivery 4) to study the approaches for developing the delivery of electricity to Laos.
This study adopted mixed methodologies. Qualitative research method is used in order to obtain data from in-depth interviews conducted with commercial affair officials, customs officials, and exporters. In addition, quantitative methodology is used to analyze data by means of the questionnaires distributed to 25 exporters. The data are analyzed by using descriptive statistics, frequency, percentage, means, and standard deviation.
The results reveal that entrepreneurs are mostly males aged 36 to 45, and most hold undergraduate degrees. The main problems hindering exportation of the electrical products to the Lao People’s Democratic Republic are the insufficient transportation network, cargo handling systems, fluctuation of commercial insurance policies, and other relevant regulations which are low capacity to compete with outside vendors. The suggestions are that the government policies that weaken the capacity of Thai exports to Lao PDR be reexamined and export of quality products be supported together with the expansion of transportation channels and preparedness to cope with the ASEAN Economic Community (AEC).
ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาตลอดจนปัญหาอุปสรรคการส่งออกสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งออก 3) เพื่อตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคเชิงนโยบายและปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหารการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า และ 4) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษแบบผสานข้อมูลคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งได้แก่ พาณิชย์จังหวัดหนองคาย นายด่านศุลกากรจังหวัดหนองคาย ผู้ประกอบการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการตอบแบบสอบถามของตัวอย่างผู้ส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านด่านศุลกากร จังหวัดหนองคาย จำนวนทั้งสิ้น 25 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุ 36 – 45 ปี จบระดับการศึกษาปริญญาตรี สภาพการค้าทั่วไปและอุปสรรคของการส่งสินค้าไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ประสบกับปัญหาการจราจร ปัญหาด้านการขนถ่ายสินค้า ระบบการค้า การประกันภัย รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบบ่อยครั้ง สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า พบว่า ปัญหาด้านการค้าคือการแข่งขันกับผู้ค้านอกระบบ ปัญหาด้านการขนส่งเนื่องจากการจราจรบริเวณสะพานมิตรภาพที่แออัด ปัญหาด้านการเงินคือขาดแคลนเงินทุนและหนี้สูญ ปัญหาด้านนโยบายและมาตรการของรัฐบาลพบการคืนภาษีส่งออกล่าช้า ความต้องการการส่งออกในอนาคต ได้แก่ การรักษามาตรฐานสินค้าที่คงด้วยความมีคุณภาพ เพราะเป็นจุดเด่นของสินค้าไทยแต่มีจุดด้อยในเรื่องของราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง ข้อเสนอแนะคือภาครัฐควรลดอัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีราคาต้นทุนที่ถูกลง รวมทั้งควรสนับสนุนแนวนโยบายการค้ากับ สปป.ลาว ประกอบกับการสนับสนุนให้มีการขยายสะพานมิตรภาพหรือมีการเพิ่มจุดผ่านแดนถาวรให้มากขึ้น พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.