กระบวนการนโยบายสาธารณะในการพัฒนาเมืองหาดใหญ่ (Public Policy Process in Hatyai City Development)

Authors

  • ชนิษฎา ชุสุข คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พนาลี ชีวกิดาการ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จิตราวดี ฐิตินันทกร คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

กระบวนการนโยบายสาธารณะ, การพัฒนาเมือง, เทศบาลนครหาดใหญ่, Public policy process, Urban development, Hatyai Municipality

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษานโยบายการพัฒนาของเมืองหาดใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2520-2558 และ 2) เพื่อศึกษากระบวนการแปลงนโยบายสาธารณะของเมืองหาดใหญ่ไปสู่การปฏิบัติ งานวิจัยนี้ใช้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม อันได้แก่ พนักงานของเทศบาลนครหาดใหญ่ กรรมการชุมชน และตัวแทนภาคประชาสังคม และจากการบันทึกการสนทนากลุ่ม ข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า นโยบายของเมืองหาดใหญ่สามารถแบ่งช่วงระยะเวลาออกได้เป็น 2 ช่วง คือ 1) พ.ศ. 2520-2538หรือ ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลนคร และ 2) ในช่วงหลัง พ.ศ. 2538 ที่หาดใหญ่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครแล้ว นโยบายในยุคแรกได้รับอิทธิพลมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 และฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2520-2529) หลังปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ปัญหาและความต้องการของประชาชนได้เข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายของเมืองหาดใหญ่ ส่วนกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัตินั้น พบว่าในยุคแรกประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก แต่ในช่วงหลัง พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยผ่านทางแกนนำ หรือ คณะกรรมการชุมชน ทางเทศบาลได้มีการเปิดพื้นที่ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้มีบทบาทในการแสดงความเห็นต่อการพัฒนาเมืองในเวทีต่าง ๆ มากขึ้นกว่าในอดีต อีกทั้งเทศบาลได้ใช้ ICT เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมในการดูแลเมืองผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะ แต่ยังเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกัน

 

Public Policy Process in Hatyai City Development

This research has two objectives: 1) to study the urban development policies process of Hatyai Municipality from 1977 through 2015; and 2) to analyze the policy transformation and implementation processes of Hatyai Municipality. Both primary and secondary data sources were employed. The primary sources were from questionnaire interviews of three groups of key informants - the employees of the municipality, community leaders, and members of a civic group – and from the notes of discussion groups. Secondary data were collected from official documents of the municipality and from previous research reports.

Over the years, policies of Hatyai Municipality can be grouped into two distinct periods.  The first was between 1977 and 1995. The second period began in 1996, which was when Hatyai Municipality achieved the status of Nakorn (City) Municipality. Policies during the first period were largely influenced by the Fourth and the Fifth National Economic and Social Development Plans covering 1977-1986. After 1986, the needs and problems of citizens formed the basis for policy formulation. During the first period citizen participation in policy transformation and implementaion processes was not clearly visible. It was not until after 1986 that key community leaders or members of the urban communities had significant roles to play in the process.  It was also in the second peiod that Hatyai Municipality capitalized on  the advancement and availability of Internet technology to solicit support from a wider range of residents. The net result was that people in the muncipality not only had ample opportunity to participate in the policy process but shared a common sense of ownership of the city.

 

Author Biographies

ชนิษฎา ชุสุข, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา Urban Environmental Management สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ปี 2548 Thesis Title: Local Governance and Public Participation in Sustainable Solid Waste Management in Hatyai Municipality วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา Development Studies, University of Bath, สหราชอาณาจักร ปี 2541 Dissertation Title: Environmental Degradation and Public Policy in Aquaculture in Thailand วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วิชาเอกสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิชาโท พัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2538 หัวช้อวิทยานิพนธ์ : พฤติกรรมการใช้น้ำของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิชาเอกทฤษฎีการบริหารทั่วไป (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2533

พนาลี ชีวกิดาการ, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รองศาสตราจารย์ ดร.คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จิตราวดี ฐิตินันทกร, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นักศึกษาปริญญาเอก คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Downloads

Published

2016-05-30

How to Cite

ชุสุข ช., ชีวกิดาการ พ., & ฐิตินันทกร จ. (2016). กระบวนการนโยบายสาธารณะในการพัฒนาเมืองหาดใหญ่ (Public Policy Process in Hatyai City Development). Local Administration Journal, 9(2), 35–47. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88238