บทบาทและวิธีการจัดการความขัดแย้งของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดอุดรธานี

Authors

  • สุวัฒ ดวงแสนพุด สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

บทบาท, การจัดการความขัดแย้ง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, Role, Conflict Management, Sub district headman, Village leader

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตจังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษากลวิธีในการจัดการความขัดแย้งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตจังหวัดอุดรธานี ทำการวิจัยในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กำนันผู้ใหญ่บ้านที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี ได้มาโดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 329 คน สำหรับวิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อหากลุ่มตัวอย่างในแต่ละอำเภอใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า บทบาทในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ส่วนกลวิธีในการจัดการความขัดแย้งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมี 5 วิธี ได้แก่ วิธีเผชิญหน้า วิธีประนีประนอม วิธีไกล่เกลี่ย วิธีหลีกเลี่ยง และวิธีบังคับ กำนันผู้ใหญ่บ้านจะเลือกใช้บางครั้งทุกกลวิธี ผลจากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมให้กำนันผู้ใหญ่บ้านได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบหรือกลวิธีการจัดการความขัดแย้งความรู้เกี่ยวกับคดีแพ่งและคดีอาญาที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการความขัดแย้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


The Role and Conflict Management of Sub-district and Village Headmen in The Area of Udon Thani

The purpose of this study was to investigate the management role of sub-district headmen and village headmen in solving conflicts by using the conciliation method and to examine the methods used in the conflict management of sub-district headmen and village headmen in Udon Thani. This study was conducted between the year of 2014 to 2015. The sample was 329 of sub-district headmen and village headmen selected through a proportional random sampling method. The sample size was specified by using the Taro Yamane’s formula at a statistical significant level of 0.05. A questionnaire was used to collect data, and the collected data were analyzed in the forms of percentage, average and standard deviation. The results showed that the role in solving conflicts by using the conciliation method was rated at a high level.  There were five strategies employed by sub-district and village headmen to resolve conflicts: confrontation method, compromise method, mediation method, withdrawal method, and force method. This study implies that the related organizations should provide training courses for the sub district and village headmen to equip them with understanding about conflict management and knowledge about civil and criminal cases that can be resolved by reconciliation for greater efficiency in conflict management.

Author Biography

สุวัฒ ดวงแสนพุด, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

อาจารย์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 64 ถ.ทหาร ตฬหมกแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

Additional Files

Published

2016-12-28

How to Cite

ดวงแสนพุด ส. (2016). บทบาทและวิธีการจัดการความขัดแย้งของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดอุดรธานี. Local Administration Journal, 9(4), 42–62. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88250