ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้ง

Authors

  • สุดารัตน์ รัตนพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การจัดการความขัดแย้ง, Local Wisdom, Conflict Management

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะของเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documentary research) ผลการศึกษา พบว่า ภูมิปัญญาเป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งที่มีมายาวนานทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้ในการจัดการความขัดแย้งได้ในหลายระดับ เช่น ระดับระหว่างบุคคล ระดับกลุ่ม เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แฝงอยู่ในรูปแบบของศาสนา ความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เป็นต้น ในปัจจุบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนสำคัญในการจัดการความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นของสิทธิชุมชน (Community Rights) ซึ่งความเป็นท้องถิ่นมักจะถูกมองว่าเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ รัฐมองความไม่พัฒนาทางด้านวัตถุของท้องถิ่นจนลืมสนใจผลกระทบที่จะเกิดกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การบริหารจัดการภาครัฐจะต้องพิจารณาถึงภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ต่างก็มีระบบภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป ส่งผลให้กระบวนการในการจัดการความขัดแย้งแตกต่างกันออกไปด้วย  ปฏิเสธไม่ได้ว่าภูมิปัญญามีพลังในการยึดโยงบุคคลให้เกิดความคิด ความเชื่อที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ในทุกระดับ ดังนั้น บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรนำไปใช้ในการแก้ไขความขัดแย้ง เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และสามารถบริหารจัดการโดยไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน

 

Local Wisdom and Conflict Management 

The aim of this study is to examine local wisdom as a tool for managing conflicts. The study employed a documentary research design. Results showed that local wisdom has been used as a tool for managing conflicts for a long time in both Thailand and abroad. This tool can be used to manage conflicts in many levels, such as interpersonal conflicts in terms of religion, beliefs in supernatural power, culture, tradition, ways of life etc. At present, local wisdom takes an important role as a tool to manage conflicts between the public sector and people who get involved in community rights issues. Localization is regarded as a problem for country development, and the government focus on underdevelopment for materials in the rural areas and do not pay as much attention to the impacts on ways of life of local people. Therefore, it is necessary for public administrators to take into consideration the variation of local wisdom in different communities and the fact that different local wisdom leads to different conflict management processes. Local wisdom has cohesive power to connect people, shape their thought and beliefs, and can solve conflicts in every level. Hence, the public and private sectors should apply local wisdom as a tool to solve conflicts in order to achieve organizational objectives and preserve the ways of life of local communities.

 

Author Biography

สุดารัตน์ รัตนพงษ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

อาจารย์สุดารัตน์  รัตนพงษ์

อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต 

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

ประวัติการศึกษา: ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร

                  รป.ม.(สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้ง) มหาวิทยาลัย                     นเรศวร

ผลงานทางวิชาการ: 

    1. สุดารัตน์  รัตนพงษ์และคณะ. (2552).บทบาทของพระสงฆ์ในการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในท้องถิ่น :ศึกษาเฉพาะกรณี พระครูวิบูลสิทธิธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองพยอมตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการสืบเนื่องการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 11 ประจำปี 2552 “ความขัดแย้ง ความชอบธรรม และการปฏิรูประบบรัฐ: การจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมในสังคมไทย”

    2.สุดารัตน์ รัตนพงษ์. (2552).  การจัดการความขัดแย้งด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ประเพณีเลี้ยงดงหรือผีปู่แสะย่าแสะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนปผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ร่วมกับเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ วันที่ 5 สิงหาคม 2557.

    3. สุดารัตน์ รัตนพงษ์. (2559). โครงการวิจัยประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของ อปท.พิจิตร (อำเภอโพทะเล) ประจำปีงบประมาณ 2558. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

 

Published

2016-12-28

How to Cite

รัตนพงษ์ ส. (2016). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้ง. Local Administration Journal, 9(4), 25–41. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88251