ความขัดแย้งและความรุนแรงของการเมืองท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Authors

  • ณัฐกร วิทิตานนท์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Keywords:

ความขัดแย้งทางการเมือง, ความรุนแรงทางการเมือง, การเมืองท้องถิ่น, การกระจายอำนาจ, Political Conflict, Political Violence, Local Politics, Decentralization

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ศึกษาทำความเข้าใจถึงลักษณะ สาเหตุ รวมทั้งกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่กรณีศึกษา และ (2) วิเคราะห์ว่ามีเงื่อนไขปัจจัยใดบ้างที่แปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่การใช้ความรุนแรง และเหตุรุนแรงนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อท้องถิ่น

สำหรับวิธีการศึกษาได้อาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพจากหลากหลายแหล่งผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เอกสารของทางราชการ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น นำเสนอโดยอธิบายเรียงลำดับเวลา

ผลการศึกษาจากกรณีเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย บ่งชี้ว่า (1) ความขัดแย้งเกิดขึ้นในหลายลักษณะ บางช่วงเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภา บางช่วงเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำ สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเชิงโครงสร้าง การแข่งขันระหว่างกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้ง รวมถึงอาจมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (2) เหตุการณ์รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏคือ การข่มขู่ด้วยอาวุธปืน ส่วนการชุมนุมประท้วง ร้องเรียน ฟ้องร้องดำเนินคดี ฯลฯ ทำนองนี้ ถึงแม้จะมีมากมาย แต่ก็ยังคงเป็นไปตามวิถีทางของระบบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ในการนำมาใช้จัดการความขัดแย้งต่าง ๆ

ปัจจัยที่แปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ความรุนแรงพบหลายเงื่อนไขด้วยกัน เช่น เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารท้องถิ่นชั่วคราว, เป็นช่วงที่กำลังมีประเด็นขัดแย้งตอบโต้กันอยู่หลายเรื่อง ผลกระทบจากความขัดแย้งข้างต้นสะท้อนถึงภาวะการเมืองที่ขาดความเป็นเอกภาพ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารหลายครั้ง อนึ่ง เหตุการณ์ที่ช่วยให้ความขัดแย้งคลี่คลายได้แก่ การที่ผู้บริหารในฝ่ายประจำยอมผ่อนท่าทีลง โดยขอย้ายตัวเองออกนอกพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา                                                                          

 

Conflict and Violence of Local Politics in Thailand: A Case Study of Bandu Subdistrict Municipality, Mueang, Chiang Rai

The main objectives of this study are to (1) study characteristics, causes, and problem solving process of conflicts, (2) analyze and understand factors that turn political conflicts into violence and effects of the violence on the locals.

The study was conducted by gathering qualitative information from many different sources, including interviewing people from different parties involved and examining official government documents and newspapers. The gathered information was sorted and presented in a chronological order.

The result from the study showed that (1) there were different types of conflicts. Some of the conflicts were between the executive and the council, and others between government officials and political officials. The causes of the conflicts were from personal issues, structural issues, competition between political groups during elections, and conflicts of interests. (2) So far, the most serious action resulted by the conflicts was an intimidation with a gun. There were also some other actions, e.g., demonstrations, complaints, and litigations, which were socially acceptable in dealing with conflicts.

There were many conditions that turned conflicts into violence, such as the incidents had been happening during the changing of the executives, or during retorting on disagreement issues. The conflicts implied a lack of unity and led to changes of the executives. The incident that diminished the conflict was that the executives compromised by moving out from the conflict areas to avoid the violence that might happen later.

Author Biography

ณัฐกร วิทิตานนท์, สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

1. ชื่อ-นามสกุล นายณัฐกร วิทิตานนท์
โทรศัพท์ 089-4296999
email vititanon@hotmail.com
2. การศึกษา
- นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- รัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ประกาศนียบัตรการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
3. ประสบการณ์
- อาจารย์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2546-ปัจจุบัน
4. คุณสมบัติพิเศษ/ความเชี่ยวชาญ/ความสนใจพิเศษ
- การเมืองการปกครองท้องถิ่นกับการกระจายอำนาจ
5. ผลงานตีพิมพ์ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ)
- “แนวคิดในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551), หน่วยที่ 3 หน้า 1-64.
- “การเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ (พ.ศ.2542-2554): กลุ่มการเมืองผูกขาด จุดพลิกผัน และการฟื้นคืนอำนาจ” ใน วสันต์ ปัญญาแก้ว (บรรณาธิการ). การเมืองของราษฎรไทยยุคหลัง (หลัง) ทักษิณ. (เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555). 83-121.
- “บทบาทสภาท้องถิ่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติมาจากกลุ่มการเมืองเดียวกันทั้งหมด: ศึกษากรณีสองเทศบาลนครในเขตภาคเหนือตอนบน” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 9, (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2550), 853-867. (จากงานวิจัย)
- การลอบสังหารในการเมืองท้องถิ่นไทย: บทสำรวจ “ตัวเลข” ขั้นต้นในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543-2552). วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 8(3) (กันยายน-ธันวาคม 2553), 41-54.
- คำอธิบายกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น (ผู้เขียนร่วม). พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555).
- พื้นที่ทับซ้อน อำนาจซ้อนทับ: ปัญหาในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอำเภอชายแดน. (เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.), 2557). (จากงานวิจัย)

Published

2016-12-28

How to Cite

วิทิตานนท์ ณ. (2016). ความขัดแย้งและความรุนแรงของการเมืองท้องถิ่นไทย: ศึกษากรณีเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. Local Administration Journal, 9(4), 1–24. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88252