การปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ท่ามกลางกระแสโลกร้อน: กรณีศึกษา ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Authors

  • โอฬาร ถิ่นบางเตียว ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน, กระแสโลกร้อน, จังหวัดตราด, adaptation of green-blue economy community, global warming, Trat Province

Abstract

การปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ท่ามกลางกระแสโลกร้อน: กรณีศึกษา ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง, การปรับตัว, และสร้างตัวแบบของชุมชนเศรษฐกิจเขียวน้ำ-น้ำเงิน ในบริบทของตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ท่ามกลางกระแสโลกร้อน   โดยเป็นการศึกษาวิจัยแบบคุณภาพเชิงประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ตำบลไม้รูดผ่านการเปลี่ยนแปลงของชุมชน  4 ยุค คือ ยุคลงหลักปักฐาน, ยุคการค้าเรือสำเภา, ยุคประมงแบบพาณิช, และในยุคของสภาวะโลกร้อน ซึ่งชาวบ้านในแต่ละยุคผ่านการปรับตัวมาถึงยุคที่สภาวะโลกร้อนนั้นเป็นสภาวะที่มีความซับซ้อนและกระทบต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ความเป็นกรดของน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เป็นต้น ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การปรับตัวของชาวบ้านชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ในบริบทของตำบลไม้รูดคือ การรวมกลุ่มกิจกรรม ในชุมชนเพื่อสร้างสวัสดิการและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การสร้างการท่องเที่ยวชุมชน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การปรับรูปทรงบ้านและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในชุมชน และการคัดแยกขยะเพื่อจัดการปัญหาขยะ ตลอดจนการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันได้แก่ป่าชายเลน เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็กโดยจัดทำเป็นสัญญาประชาคมร่วมกันในตำบลเพื่อสร้างข้อตกลงการห้ามตัดไม้ในป่าชายเลน, ผลการศึกษาตาม วัตถุประสงค์ข้อที่ 3  คือ การสร้างตัวแบบการปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียวน้ำเงินนั้น ผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์จากประสบการณ์เขียว-น้ำเงินของชุมชนซึ่งมีมาแล้วในระดับหนึ่งกับสถานการณ์ในปัจจุบันว่ารูปแบบการปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ท่ามกลางสภาวะโลกร้อนนั้นจะต้องมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม การสร้างนวัตกรรมสีเขียว-น้ำเงิน และการออกแบบกิจกรรมใหม่เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สำหรับภาพลักษณ์เศรษฐกิจสีเขียว-น้ำเงินของชุมชนในอนาคต เศรษฐกิจสีเขียว-น้ำเงินที่มีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีความเสมอภาคทางสังคม บนฐานของประชาธิปไตยรากหญ้า และมีเศรษฐกิจสังคมชุมชนอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากผลกระทบของสภาวะโลกร้อน

 

Adaptation of Green-blue economy community in The Age of Global warming: A Case study of Mairood Sub-district, Klongyai District, In Trat  Province

The objective of this study is to examine the change, adaptation and model creation of green-blue economy community in the age of global in Mairood Sub-district, Klongyai District, Trat Province. This study employed a historical research method.

The result from the first objective showed that Mairood Sub-district has gone through four periods of changes, i.e., the settlement period, the commercial junk boat period, the commercial fishery period, and the global warming period. In the global warming period, the locals had faced with several societal and economic difficulties: change of weather, rising temperature, ocean acidification, coastal erosion, and decreasing biological variety.

The result from the second objective showed that the community adaptation was done through several activities: i.e., the association of local activities for welfare creation and economic stability, the promotion of tourism, the creation of food security, the renovation of housing and local buildings, and the introduction of waste separation. There was also the regeneration of the natural resources in a mangrove forest for aquaculture nursery by making a sub-district social contract that prohibited tree logging in the mangrove forest.

The result from the third objective, which was about the formulation of adaptation model based on community’s experience and the current situation, showed that, for successful adaptation in the age of global warming, green-blue economy communities need to: strengthen their economic, societal, and environmental activities; create green blue innovation; design new activities that strengthen their communities. Future green-blue economy communities should have the endurance for changing climate, promote social equality based on the fundamental democracy, and have economic and societal activities that are safe from the global warming effect. 


             

 

Published

2016-12-28

How to Cite

ถิ่นบางเตียว โ. (2016). การปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ท่ามกลางกระแสโลกร้อน: กรณีศึกษา ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. Local Administration Journal, 9(4), 91–103. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88254