อำนาจนำของ “สิงห์”: การสร้างพื้นที่ในเขตเมืองของข้าราชการนักปกครองส่วนภูมิภาค จากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (The Hegemony of “Singha”: The Creation of Urban Space by Provincial Administrators after World War II)

Authors

  • ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 78 ถ.ทิพย์ช้าง ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง 52000

Keywords:

ข้าราชการนักปกครอง, การบริหารราชการส่วนภูมิภาค, คณะรัฐศาสตร์, พื้นที่เขตเมือง, Provincial Administrator, Faculty of Political Science, Urban Space

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของข้าราชการนักปกครอง ส่วนภูมิภาคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ว่ามีผลต่อการสร้างพื้นที่เมืองอย่างไร โดยการอธิบายด้วยแนวพินิจทางประวัติศาสตร์ (Historical approach) พบว่า ความมั่นคงและความเป็นระเบียบที่เคยมีมาแต่เดิมได้คลายตัวออก เนื่องจากสภาพผิดปกติจากสภาวะสงคราม ทำให้ท้องที่ต่าง ๆ เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม และเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น รัฐจึงได้ขยายอำนาจผ่านกลุ่มคนสำคัญกลุ่มหนึ่งนั่นคือ ข้าราชการนักปกครองส่วนภูมิภาค ที่เข้าไปทำหน้าที่ควบคุมพื้นที่ผ่านหน่วยการปกครอง ในนามผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ เขาเหล่านี้ถูกเรียกกันอย่างลำลองด้วยสัญลักษณ์ของสัตว์หิมพานต์ว่า “สิงห์” คนกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ตัวเมืองขึ้นมาและสร้างความสัมพันธ์กับพ่อค้าและชนชั้นนำในตลาด บทบาทนี้เข้ามาทดแทนพื้นที่ประชาธิปไตยของการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสภาท้องถิ่น ในยามที่ “ประชาธิปไตย” ถูกลดความหมายลงเรื่อย ๆ ในทศวรรษ 2490 พื้นฐานของอำนาจนี้เองส่งผลอย่างมากต่อความเข้มแข็งของข้าราชการส่วนภูมิภาคและความอ่อนแอของประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นมาตั้งแต่ทศวรรษ 2500 และได้สร้างพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่แบบไม่พึ่งพาประชาธิปไตยขึ้นมานับแต่นั้น


The Hegemony of “Singha”: The Creation of Urban Space by Provincial Administrators after World War II

This article aims to study the role of provincial administrators in the creation of urban space after World War II. The methodology of this study is the historical approach. The findings show that when state stability and order became loose and disorganized after World War II, thieves and crime rose in several areas. To tackle this problem, the state empowered the regional government officials who represented the central government, such as the district chiefs and the provincial governors, to restore the situation. These officials were named “Singha,” after the sacred lion. These groups played important roles in urban development, and built a close relationship with the local merchants and local power structure.  Their power increased dramatically and over-shadowed the so-called local democracy, in the form of municipal councils, at the time.   Commencing in the 1950s, the provincial administrations exerted full control over the local administrations. The net effect was that since 1960, democracy has been undermined and a new political discourse and space have gained solid ground in Thailand.

Author Biography

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, 78 ถ.ทิพย์ช้าง ต.หัวเวียง อ.เมือง ลำปาง 52000

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
จบการศึกษาปริญญาโท จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สนใจประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคม-การเมืองไทย, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาร่วมสมัย
ผลงานล่าสุด หนังสือ "กำเนิด "ประเทศไทย" ภายใต้เผด็จการ" (2558) โดย สำนักพิมพ์มติชน

Downloads

Published

2016-03-28

How to Cite

พจนะลาวัณย์ ภ. (2016). อำนาจนำของ “สิงห์”: การสร้างพื้นที่ในเขตเมืองของข้าราชการนักปกครองส่วนภูมิภาค จากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (The Hegemony of “Singha”: The Creation of Urban Space by Provincial Administrators after World War II). Local Administration Journal, 9(1), 18–40. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88256