กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับคณะทำงานชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่: กรณีศึกษาโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • นพพล อัคฮาด สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Keywords:

การบริการสาธารณะแนวใหม่, วัฒนธรรมสันติวิธี, โครงการภาครัฐ, บทบาทชุมชน, New Public Service, Peace Culture, Public Programs, Community Role

Abstract

บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนกระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะในโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีของตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และ 2) ประเมินความสำคัญของการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะดังกล่าว เปรียบเทียบกับบริการหรือโครงการอื่นของหน่วยงานภาครัฐที่ดำเนินการในตำบลเดียวกัน งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกของผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 ราย และจากกลุ่มตัวอย่าง อีกจำนวน 97 ราย เพื่อตอบคำถามเชิงประเมินค่า 5 ระดับ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ ได้มาจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะในโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถีนั้น ใช้กระบวนการการขับเคลื่อนตามแนวคิด POLC ได้แก่ขั้นตอนการวางแผน (Planning) ขั้นการออกแบบองค์การดำเนินงาน (Organizing) ขั้นการนำ (Leading) และขั้นการควบคุม (Controlling) และ 2) การขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะในโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จ.ขอนแก่น ได้รับการประเมินว่ามีบทบาทและผลในการขับเคลื่อนโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30) ซึ่งมากกว่าโครงการที่ดำเนินการโดยภาครัฐตามลำพัง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08)

 

The Process of Moving Towards Joint Public Service between the Public Sector and Community Group Using a New Public Service Concept: The Case of a Peace Culture Pilot Community in Sawathi Sub-district, Mueang District, Khon Kaen Province.

This research aims to document the process of public service in a community project on peace culture of Sawathi Sub–district, Meuang district, Khon Kaen Province and to evaluate the importance of the process vis-à-vis other public sector projects that were carried out in the same sub-district.

The study employs a mix of research methods, using in-depth interviews of 18 key informants and 97 citizens to evaluate the significance of development projects on a five-point scale. In addition, secondary data from various official documents were used.  The analysis of data was done using descriptive statistics such as percentage and mean scores. 

This research indicates that the process that was studied was guided by the concept of POLC (Planning, Organizing, Leading and Controlling). This process proved to be more effective than the other projects that were carried out in the same sub-district (4.3 vs. 4.08).

Downloads

Additional Files

Published

2016-03-30

How to Cite

อัคฮาด น. (2016). กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับคณะทำงานชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่: กรณีศึกษาโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Local Administration Journal, 9(1), 59–82. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88258