การพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทย (Development of Thailand Criminal Investigation)

Authors

  • พฤกษา เครือแสง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ม.9 ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100
  • รัชดาพร หวลอารมณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 119 ม.9 ต.ชมพู อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง 52100

Keywords:

การสอบสวนคดีอาญา, การมีส่วนร่วมการสอบสวนคดีอาญา, กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย, Criminal Investigation Participatory, Criminal Investigation Thai, Criminal Justice

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทยและเพื่อจะเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทย โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระบวนการสอบสวนคดีอาญาทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 90 คน จากข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเมื่อนำมาวิเคราะห์แล้วพบว่า กระบวนการสอบสวนคดีอาญาโดยพนักงานสอบสวนเพียงลำพัง โดยอำนาจเบ็ดเสร็จไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล อาจเอื้อประโยชน์แก่การประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นปัญหาสำคัญอันส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ดังนั้นประเทศไทยควร ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและกระบวนการสอบสวนคดีอาญา เข้ามามีส่วนร่วมกับพนักงานสอบสวน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ การสอบสวนและเป็นการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้มีประสิทธิภาพ อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน แทนที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินการแต่ผู้เดียว ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


Development of Thailand Criminal Investigation

The objectives of this study are to analyze the problems and obstacles of criminal investigation in Thailand and to propose a guideline for Thai criminal inquiry procedure. The data employed were from in-depth interviews of 90 key informants from both public and private sectors who were involved in criminal investigation. In addition, secondary sources such as previous research findings were employed. The analyses of data indicate that the absolute power of the police in collecting evidence without external verification opens opportunities for bribery and corruption. More importantly, this affects the basic human rights and justice for people.  To uphold the high standards of the criminal justice process, this paper recommends that people with knowledge in law and inquiry should be appointed on an ad hoc basis to observe and/or participate in the investigative process.  This proposed model of participatory inquiry is expected to balance the investigative power, enhance the efficiency of the Thai criminal justice procedures, and bring more fairness to the criminal justice system in Thailand.

Downloads

Published

2016-03-30

How to Cite

เครือแสง พ., & หวลอารมณ์ ร. (2016). การพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทย (Development of Thailand Criminal Investigation). Local Administration Journal, 9(1), 133–143. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88262