การจัดการภัยพิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครือข่ายองค์กรชุมชน (Disaster Management of Local Government Organizations and Community Organization Networks)
Keywords:
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เครือข่ายองค์กรชุมชน, การจัดการภัยพิบัติ, Community organization networks, Disaster managementAbstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการภัยพิบัติร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายองค์กรชุมชน ผลการดำเนินงาน และเสนอแนวทางในการจัดการภัยพิบัติในระดับท้องถิ่น โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้มีบทบาทและภาระหน้าที่ในการจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวแทนภาครัฐ จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 42 คน และจากการสังเกตการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ
ผลการศึกษา พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในพื้นที่ สามารถทำงานร่วมและเสริมซึ่งกันและกัน ในลักษณะการเป็นเครือข่ายการดำเนินงานในการจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน นอกจากจะมีลักษณะการทำงานเป็นเครือข่ายภายในพื้นที่ของตนเองแล้ว ยังได้ประสานงานกับองค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเหตุการณ์วาตภัยใน พ.ศ. 2553 มีการตั้งศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีการจัดระบบการประสานงาน การจัดระบบข้อมูล ระบบการสื่อสาร ระบบอาสาสมัคร และระบบการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในท้องถิ่น
งานวิจัยฉบับนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) การให้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ 2) การบูรณาการงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ได้แก่ หน่วยงานระดับท้องถิ่น หน่วยงานส่วนภูมิภาค ภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชน และ 3) การเสริมพลังเครือข่ายทางสังคมให้แก่ท้องถิ่น เพื่อให้สามารถจัดการปัญหาร่วมกันได้ตลอดไป
Disaster Management of Local Government Organizations and Community Organization Networks
The objective of this research was to document the development and the modus operandi for disaster management by local administration organizations and community organization networks. Data for the research were collected from 42 key informants; 30 residents and 12 public officers from natural disaster-prone areas. The method of participation observation was used to provide more understanding of the entire process and the evolution of disaster management in the studied areas.
Clearly, this research indicates that local administration organizations and community organization networks closely collaborate as partners in preparing for, mitigating and providing relief to casualties and the losses from disasters. As a mark of success, in 2010 the Songkhla Community Organizations Coordinating Center for Flood Relief was established. This center established systems for database management, communications, volunteer management, and relief to assist the flood victims.
This research provides three recommendations: 1) Imparting more knowledge and improving skills regarding disaster management to the staff of local administration organizations and community organization networks; 2) Integrating and interfacing efforts related to natural disaster relief among government organizations at all levels, including civic groups and community organizations; and 3) Empowering local administration organizations and their networks of community organizations to effectively carry out their mission.
Downloads
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.