การบริหารทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม: รูปแบบหนึ่งของการบริหารกิจการสาธารณะ (Participatory Local Water Resource Management: A Model of Public Affairs Management)

Authors

  • ชัชชัย ปะมาคะเต องค์การบริหารส่วนต้าบลดอนหัน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Keywords:

การบริหารจัดการน้ำ, ความร่วมมือระหว่างรัฐและภาคประชาชน, การปกครอง-ท้องถิ่น, Water resource management, Government-citizen partnership, Local Government

Abstract

เนื่องจากน้ำถือเป็นทรัพยากรที่จ้าเป็นและมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รัฐบาล จึงได้ดำเนินการลงทุนก่อสร้างสถานีสูบน้ำขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ ในการบริหารสถานีสูบน้ำต่าง ๆ เหล่านั้น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการและการจัดสรรน้ำไว้ 3 รูปแบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ได้แก่ รูปแบบที่ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้บริหารจัดการเพียงองค์กรเดียว รูปแบบที่ 2) ประชาชนเลือกตั้งคณะกรรมการ เพื่อบริหารจัดการเอง และรูปแบบ ที่ 3) มีลักษณะเป็นความร่วมมือระหว่าง อปท. และภาคประชาชน บทความนี มีวัตถุประสงค์ที่จะรายงานผลศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการสถานีสูบน้ำทั้ง 3 รูปแบบ ในเขตองค์การบริหารส่วนต้าบลดอนหัน อำเภอเมืองขอนแก่น ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คณะกรรมการบริหารจัดการสถานีสูบน้ำและประชาชนผู้ใช้น้ำในพื้นที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า รูปแบบที่ 3 ซึ่งเป็นการบริหารจัดการด้วยความร่วมมือระหว่าง อปท. และภาคประชาชนมีประสิทธิผลและตอบสนองความต้องการของประชาชนมากที่สุด

 

Participatory Local Water Resource Management: A Model of Public Affairs Management

Because Water is an important resource for the Thai people’s way of life, the Thai government has made substantial investments in water pumping stations across the country. Based on the country’s decentralization policy, the Department of Local Administration specifies three types of pumping station management for all local administrative organizations (LAOs): the LAO-dominant model, the citizen-dominant model, and the LAO-citizen partnership model. This article offers a comparative assessment of each management model in managing water resources in Don Han subdistrict administrative organization, Khon Kaen Province. This analysis relies on data from the in-depth interviews with several LAO officials, pumping station managerial team members, and residents in the Don Han SAO. This article argues that the LAO-citizen partnership model has been more effective than the other two models of water management.

Downloads

Published

2015-08-13

How to Cite

ปะมาคะเต ช. (2015). การบริหารทรัพยากรน้ำในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม: รูปแบบหนึ่งของการบริหารกิจการสาธารณะ (Participatory Local Water Resource Management: A Model of Public Affairs Management). Local Administration Journal, 8(2), 23–38. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88285