ความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย
Keywords:
ความพร้อม, การจัดการสุขภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การกระจายอำนาจ, Preparedness Health Management, Local Government, DecentralizationAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์กรปกครองท้องถิ่น) ในประเทศไทยในการจัดการสุขภาพ ซึ่งจะพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่ ความสามารถในเชิงองค์การ (Institutional Capacity) และความสามารถของภาคชุมชน (Community Capacity) โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิจากเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้บริหารท้องถิ่น ตัวแทนข้าราชการท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชนที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมด้านสุขภาพ ทั้งนี้แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีการกระจายอำนาจด้านสุขภาพอย่างเต็มรูปแบบ แต่คณะวิจัยจะทำการศึกษาเปรียบเทียบ องค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่งที่มี ผลงานโดดเด่นในด้านการจัดการสุขภาพ โดยเปรียบเทียบกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ภายในจังหวัดข้างเคียงที่มีลักษณะทางด้านประชากรคล้ายคลึงกันจำนวน 3 แห่งผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นด้านการจัดการสุขภาพ มีความพร้อมเชิงองค์การที่สูงกว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ตกเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบ เนื่องจากมีผู้บริหารที่มีทัศนคติในเชิงบวกต่องานด้านสาธารณสุขและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและหน่วยงานภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้องค์กรปกครองท้องถิ่น เหล่านี้ยังมีโครงสร้างองค์กร และระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขอีกด้วย ในขณะที่ ภาคประชาชนขององค์กรปกครองท้องถิ่น ที่มีความโดดเด่นด้านสุขภาพก็มีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และมีการรวมกลุ่มและองค์กรทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านสุขภาพมากกว่าภาคประชาชนในพื้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ที่นำมาเปรียบเทียบ
Local Communities’ Preparedness for Health Management: A Case of Local Administrative Organizations in the Upper Northeast in Thailand
This study analyzes the capacity and preparedness of local administrative organizations and communities in taking over the healthcare responsibilities from the national government. The local health management capacity is divided into two elements: institutional capacity and community capacity. Document research, in-depth interview, and focus group discussion were used to gain insights into local public health capacity in six local administrative organizations in Northeast Thailand. Key informants include local government executives, local government bureaucrats, and representatives from social groups that are actively involved in local public health activities.
This study finds that the three “model communities” —the Nongbua Lumphu Provincial Administrative Organization, Udorn Thani Nakhon Municipality, and Naphu Tambon Administrative Organization—demonstrate more institutional capacity than the other three local administrative organizations. Regarding the community capacity, the model communities are more prepared than the other three local administrative organizations. This is due to the diversity and enthusiasm of civil organizations that offer a variety of health-related activities in the model communities. Such diversity and enthusiasm come from a wide range of news media outlets and other information sources that make local citizens aware of the importance of maintaining a healthy lifestyle. Also, the local healthcare personnel’s proactive approach plays an important role in inculcating health awareness among local citizens.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.