แนวทางการพัฒนาป่าชุมชนดงสาละเมินเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Authors

  • เชี่ยวชาญ จวงจันทร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธีระ ฤทธิรอด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุมนต์ สกลไชย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, Development Guideline, Ecotourism

Abstract

รายงานวิจัยนี้เสนอผลการประเมินศักยภาพและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาแก่เจ้าหน้าที่พื้นที่ป่าชุมชนดงสาละเมิน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ข้อมูลในงานวิจัยฉบับนี้ได้เก็บรวบรวมจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ป่าชุมชนดงสาละเมินมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อันได้แก่ น้ำตกหลายแห่ง ทุ่งดอกไม้ต่าง ๆ และเสาเฉลียง จึงมีศักยภาพและความเหมาะสมที่จะได้รับการส่งเสริมเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผลจากการวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางจัดหาและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น จัดตั้งศูนย์บริการ นักท่องเที่ยว จัดสร้างห้องน้ำ ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบประปา และสร้างถนนเพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ท่องเที่ยวได้สะดวก นอกจากนี้ ยังต้องมีการท้าการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรู้จักพื้นที่ป่าชุมชนมากขึ้น และต้องมีแผนการตลาดที่สามารถชักจูงให้คนมาท่องเที่ยว

 

Development Guidelines for Dongsalamern Community Forest as An Ecotourism Site

This paper reports the results of an assessment of the potential of the Dongsalamern community forest, located in Ubonratchathani Province, to become an ecotourism site. The data employed in this study were collected from official documents, in-depth interviews, group discussion, and participative and nonparticipative observation.

The data analysis indicates that the Dongsalamern community forest, which is abounding with natural beauty such as waterfalls, flower fields, and the Lean Pole, has the potential to be developed into an attractive site for ecotourism. The report recommends that a certain degree of infrastructure development, including an allseason road to the forest, is needed before the area can truly be functional for ecotourism. Moreover, toilets, electric lights, and piped water have to be added. In addition, a public relations plan has to be implemented and an effective marketing strategy has to be launched.

Downloads

Published

2015-08-13

How to Cite

จวงจันทร์ เ., ฤทธิรอด ธ., & สกลไชย ส. (2015). แนวทางการพัฒนาป่าชุมชนดงสาละเมินเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. Local Administration Journal, 8(1), 37–43. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88295