แนวทางพัฒนาและฟื้นฟูป่าชุมชนโคกหนองน้ำขาว Development and Rehabilitation of the Community Forest of Khok Nong Nam Khao

Authors

  • ประเสริฐ เย็นวัฒนา
  • คูณ โทขันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชุมชนโคกหนองน้ำขาว ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคล 3 กลุ่มคือ  1. เจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  2. ผู้ที่เป็นตัวแทนผู้ค้าขายของป่า ช่างแปรรูปไม้ ผู้ประกอบการเพาะกล้าไม้และจำหน่าย 3. ภาคประชาชน คือ ราษฎร พระสงฆ์ จำนวน 9  คน รวมทั้งหมด 15 คน

ผลการศึกษาพบว่า  ป่าชุมชนโคกหนองน้ำขาวเดิมในอดีตเป็นป่าที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องมีการขออนุญาตและไม่ได้มีกฎเกณฑ์ระเบียบ ข้อบังคับการควบคุม ไม่มีการจัดการทรัพยากรในทางที่ถูกต้อง ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในป่าชุมชนแห่งนี้ค่อยๆ ลดลงเนื่องจากประชาชนขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์และบำรุงรักษา ปัญหาในการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชุมชน โคกหนองน้ำขาวคือ  ปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจากบุคคลภายในและภายนอก ปัญหาการบุกรุกที่ป่าชุมชนเพราะยังมิได้กำหนดแนวเขต ปัญหาด้านองค์กรของคณะกรรมการป่าชุมชนไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดูแลรักษา  และปัญหากฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ไม่สามารถนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมและมีผลบังคับใช้ไม่จริงจัง

แนวทางพัฒนา และฟื้นฟูป่าชุมชนโคกหนองน้ำขาวให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน  คือการจัดการพื้นที่ การปลูกเสริมป่า การควบคุมไฟป่า การตัดถนนสัญจรรอบชายป่า การอนุรักษ์ป่า การพัฒนาทางด้านการเกษตรกรรม การวางแผนการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ คือ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนลดน้อยลง ฟื้นฟูให้คืนสภาพให้เกิดเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ใช้เป็นสถานที่เก็บของป่าเป็นแหล่งหาอาหารเป็นแหล่งสมุนไพรหรือใช้ประโยชน์จากไม้เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงรวมทั้งใช้ประโยชน์ อื่นๆ   เช่น  ใช้เป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์    เป็นต้น

 

Abstract

                The objective of this research was to study the development and rehabilitation of the Khok Nong Nam Khao community forest of Tambon Pho Si Sawang, Phon Thong District, Roi Et Province. Data were collected through in-depth interviews with three groups of respondents: (1) Government staff, including the executive of the Tambon Administrative Organization (TAO) and the TAO council president and vice-president; (2) Representatives of merchants of forest products, and producers of saplings; and (3) Members of the local populace, monks, etc. A total of 15 persons provided data.

                This research had the following findings: The community forest was, in the past, an ideal ecosystem. However, over time, there was uncontrolled encroachment into the forest, with no controls, regulations or correct management of the resource base. Gradually, the forest went into decline because of local ignorance about sustainable co-existence. There was excessive logging from both local residents and outsiders. Because there was no designation of protected forest areas, the encroachment continued uncontrolled. The village committee for the preservation of the community forest did not understand its role in conservation and there was inadequate enforcement of existing laws to the protect the forest.

                Guidelines for developing and restoring the community forest to a healthier condition include the need for reforestation, control of forest fires, creation of bypass roads around the forest, agricultural development, planning for sustainable community use of the forest, increased community participation in forest management, restoring of the forest life forms that are becoming scarce, increasing respect for the forest as a source of medicinal herbs, and other forms of sustainable agriculture and animal husbandry.

 

 

คำสำคัญ: แนวทางพัฒนาและฟื้นฟูป่าชุมชน

Key Words:  Development and Rehabilitation of the Community Forest

Downloads

Published

2016-10-01

How to Cite

เย็นวัฒนา ป., & โทขันธ์ ค. (2016). แนวทางพัฒนาและฟื้นฟูป่าชุมชนโคกหนองน้ำขาว Development and Rehabilitation of the Community Forest of Khok Nong Nam Khao. Local Administration Journal, 4(4). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88304