การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา Knowledge Management for Development of Yala Provincial Administrative Organization

Authors

  • มณฑา สมมาตย์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลิลี่ โกศัยยานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา ศึกษาโดยการประชุมสนทนากลุ่มจากข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยข้าราชการในสายงานบริหารตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ซึ่งมีประสบการณ์ในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา รวมจำนวน 20 คน

ผลการศึกษาพบว่า “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา” มีลักษณะที่ครบถ้วนทั้ง 7 ประการ คือ 1) การบ่งชี้ความรู้ มีการดำเนินการบ่งชี้ความรู้ทั้งภายใน เช่น ความรู้ด้านนโยบายแผนงาน ความรู้ด้านเฉพาะตำแหน่งหรือที่ต้องปฏิบัติ ความรู้ด้านเอกสารหนังสือราชการ ความรู้ระเบียบกฎหมาย และความรู้ภายนอก เช่น จากประสบการณ์ตรงส่วนบุคคล แหล่งความรู้จากสื่อต่างๆ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ มีการดำเนินการ เช่น การกำหนดคำขวัญวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนา การเปิดโอกาสให้เข้าร่วมการประชุม อบรมสัมมนา การจัดทำวารสารประจำปี การจัดทำห้องสมุดวิชาการ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ มีการดำเนินการ เช่น การรวบรวมความรู้ในรูปแบบเอกสาร การรวบรวมในรูปแบบสื่อต่างๆ การรวบรวมความรู้จากผู้ชำนาญการ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ มีการดำเนินการ เช่น การปรับเอกสารให้มีความสมบูรณ์ การใช้โปรแกรมจัดเก็บเอกสารให้เป็นมาตรฐาน การจัดทำเว็บไซต์เพื่อจัดเก็บและประชาสัมพันธ์องค์ความรู้  5) การเข้าถึงความรู้ มีการดำเนินการ เช่น การเข้าถึงความรู้จากการอบรม การจัดทำหนังสือเวียน การจัดทำกระดานข่าวสำหรับการตอบคำถาม  6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีการดำเนินการโดยการแจ้งเวียนความรู้ การจัดพี่เลี้ยงสอนงาน การจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ 7) การเรียนรู้ มีการดำเนินการโดย การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา และจะยังประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป

อย่างไรก็ดี แม้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดยะลามีการดำเนินการจัดการความรู้ครบทั้ง 7 ประการ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

Abstract

                The objective of this research was to study knowledge management for development by the Yala Provincial Administrative Organization (PAO).  Data were collected from proceedings of group meetings of PAO staff, section chiefs, and other key informants.  A total of 20 persons provided data.

                The results of this study found that the Yala PAO covers all seven of the characteristics of effective knowledge management, including:  (1) Indicators of knowledge, including policy and planning awareness, job-specific awareness, knowledge of documents, laws and regulations, and external knowledge such as personal experience and external other sources; (2) Creating and sourcing knowledge through specification of a vision for development, creating opportunities for participation in training and seminars, producing annual yearbooks, and establishing a technical library; (3) Systematic knowledge storage through compiling information from printed documents and other media, and obtaining information from experts; (4) Analysis and filtering of knowledge through completing documentation, using programs for standardized information storage, and creation of an Internet website for storage and knowledge sharing; (5) Access to knowledge through training sessions, producing circulars, producing a news wall for Q & A; (6) Sharing and exchanging knowledge through circulating knowledge, accessing mentors, and creating community learning functions; and (7) Continued learning through applying the knowledge gained to improve the capacity of the PAO and benefit the population.

 

คำสำคัญ: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร

Keywords:  Knowledge Management for Development

 

Downloads

Published

2016-10-01

How to Cite

สมมาตย์ ม., & โกศัยยานนท์ ล. (2016). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา Knowledge Management for Development of Yala Provincial Administrative Organization. Local Administration Journal, 4(4). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88308