กระบวนการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลตำบลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ Budgets Allocation Process in Sanpatong Municipality Sanpatong District, Chiengmai Province

Authors

  • วิรัตน์ วิริยาสกุล
  • พีรพล ไตรทศาวิทย์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลตำบลสันป่าตอง และเสนอแนะแนวทางในการจัดสรรงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลได้จากการสนทนากลุ่มกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดทำงบประมาณผลการ ศึกษาพบว่า

กระบวนการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลตำบลสันป่าตอง พบว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณ คือภาษีจัดสรรที่รัฐบาลกำหนดจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการกำหนดระยะเวลาไว้ แต่การจัดสรรให้ไม่ตรงเวลาทำให้แผนการใช้จ่ายเงินที่วางไว้ต้องมีการ เปลี่ยนแปลงรวมไปถึงเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่มีความแน่นอน และลดลงทุกปีอีกทั้งเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ทางเทศบาลได้รับเป็นรายจ่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งหมด โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้รับเงินอุดหนุนเลย จึงเป็นภาระหน้าที่ของเทศบาลที่จะจัดสรรเงินงบประมาณไปดำเนินการ ทำให้ไม่ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน/ชุมชนจำเป็นต้องจัดสรรไปตามลำดับความ สำคัญในแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลสันป่าตองที่ได้จัดทำไว้ นอกจากนี้สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสันป่าตองยังไม่เข้าใจการจัดทำงบประมาณ ซึ่งมักจะเน้นไปในงบลงทุน ครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประกอบกับภารกิจในความรับผิดชอบของเทศบาลเพิ่มขึ้นแต่งบประมาณมีจำกัด มีการถ่ายโอนงานมาจากส่วนกลาง เป็นการโอนงานและงบประมาณ แต่งบประมาณที่โอนมาไม่เพียงพอ ในการจัดสรรงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานนี้บางครั้งไม่ได้นำแผนชุมชนมาประกอบ การพิจารณาจัดทำงบประมาณ และขณะที่เข้าสู่กระบวนการประชาคมระดับเทศบาลมีการเปลี่ยนแปลงโครงการของหมู่บ้านโดยคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล นอกจากนี้เจ้าหน้าที่งบประมาณยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการจัดทำงบประมาณประกอบกับกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติหรือหนังสือสั่งการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีการจัดทำและจัดสรรงบประมาณผิดหมวด ประเภท จึงควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณเป็นประจำทุกปี

 

Abstract

                This research had the objective to study the budget allocation process in Sanpatong Municipality of Sanpatong District, Chiang Mai Province.  This study proposes guidelines for improving budget allocation by the local administrative organization (LAO).  Data were collected from focus group discussions with administrators and relevant staff in the budgeting process.  The results are as follows:

                The process of budgeting by the Municipality is affected by tax revenues from LAO administered collection.  However collection and allocation are not synchronized, and this results in the need to make modifications in implementation.  Another variable is the uncertain amount of central government budget support from year to year, but which is generally declining.  Special revenue from ad hoc activities of the Municipality is allocated to improving quality of life of the locality.  Construction projects did not all receive budget support.  Thus, the Municipality had to make budget shifts and re-allocation, resulting in neglect of some village needs that were lower priority in the development plan. Some Tambon council members did not understand the budgeting process and see the funds as a source for investment, buying supplies, land purchase and construction.  Despite the increased workload of the Municipality as part of national devolution, the budget has not increased enough.   Some of the infrastructure projects are not mindful of community plans.  Projects are changed after public hearings are held.  Some of the budget staff lack adequate knowledge about finance and budgeting regulations and directives.  Thus, mistakes are often made in the misallocation of certain budget categories.  There is a need for annual refresher training for these staff.

 

คำสำคัญ: กระบวนการจัดสรรงบประมาณ

Key Words:  Budgets Allocation Process

Downloads

Published

2016-10-01

How to Cite

วิริยาสกุล ว., & ไตรทศาวิทย์ พ. (2016). กระบวนการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลตำบลสันป่าตอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ Budgets Allocation Process in Sanpatong Municipality Sanpatong District, Chiengmai Province. Local Administration Journal, 4(4). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88309