การวิเคราะห์สถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา (Analysis of Fiscal Status of Local Administrative Organization in Songkhla Province)
Keywords:
การวิเคราะห์สถานะทางการคลัง, Analysis of Fiscal StatusAbstract
รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา โดยการวิเคราะห์งบการเงิน รายงานสถิติการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ.2553 รายงานการขออนุมัติใช้เงินทุนสำรองเงินสะสมจากสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มรายรับ-รายจ่าย ในอนาคต ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้เงินสะสมและเงินทุนสำรองเงินสะสม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา จำนวน 141 แห่ง ส่วนใหญ่มิได้นำเงินสะสม หรือเงินทุนสำรองเงินสะสม ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของเงิน คือมิได้นำไปใช้ในกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน กรณีเกิด สาธารณภัย ภัยพิบัติ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเงินดังกล่าวไปใช้ในหมวดเงินเดือนค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าจ้างเหมาบริการ เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จ่ายสมทบโครงการก่อสร้างต่างๆ เช่น สมทบก่อสร้างอาคารเรียน สมทบก่อสร้างถนน จัดซื้อรถยนต์บรรทุกน้ำ เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อมิให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสบปัญหาภาวะวิกฤตทางการเงินการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการวางแผนงบประมาณให้ชัดเจน ครอบคลุมทุกด้านให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้รู้ถึงความต้องการที่แท้จริง จัดทำมาตรการวางแผนการใช้จ่ายเงินให้ชัดเจนถูกต้อง โดยประเมินผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ควรมีระบบการตรวจสอบที่รัดกุม และถ่วงดุลในการใช้จ่ายงบประมาณทั้งภาคประชาชน และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนอกจากนั้นมีมาตร การควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ประเมินผล โดยการจัดทำรายงานทางการเงินให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อความมั่นคงทางฐานะการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสงขลา
Analysis of Fiscal Status of Local Administrative Organization in Songkhla Province
This research included a review of documents related to financial management, budget planning, management of fiscal reserves, research reports, and financial analyses. Also compiled were financial statistics of the local administrative organizations (LAO) in Songkhla Province during the period from FY 2005 to FY 2010. Also reviewed were documents regarding the approval for allocation of supplemental budget from the Provincial Branch of the Department for Local Administration. This research analyzed the trends in revenue and expenditure.
This research examined the use of accumulated funds of 141 LAOs in Songkhla Province. Most LAOs did not appropriate the funds according to the objectives of the funding, i.e., they did not use the funds for emergency response or natural disasters. Instead, the LAOs used the funds to pay monthly salaries, short-term contracts, compensation for administrators, lump sum payments for contractual services, cost-of-living subsidies, procurement of materials, supplies, land, construction and counterpart funding for construction projects (e.g., schools, roads, water trucks, etc.).
Thus, in order to prevent a financial crisis, the financial offices of the LAOs should have clearer plans for budget authorization which adhere to the purpose of the funds, and include local popular participation in the local development planning process. There should be more careful monitoring and evaluation of the use of the funds in the past year, including a secure inspection system, and an account balancing process overseen by representatives of the community and the LAO council. There should be measures to ensure that the budget is appropriated as intended, as documented by detailed financial reports which are complete and attest to the compliance of the Songkhla LAO financial systems.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.