ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” Success on Development of Sufficiency Economy Village

Authors

  • จำรัส โคตะยันต์
  • วิไลวรรณ สมโสภณ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 1) ผู้นำชุมชน  2) เจ้าหน้าที่รัฐและ 3) ตัวแทนชาวบ้าน วิธีการในเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการศึกษา 1) สภาพการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า หมู่บ้านมีผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวบ้านในเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้ประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับหมู่บ้านมีความพร้อมที่จะเสียสละให้แก่ส่วนรวม มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อให้สมาชิกในหมู่บ้านช่วยเหลือกัน ชาวบ้านมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองและครอบครัวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการลดรายจ่าย บางครัวเรือนไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ ด้านการเพิ่มรายได้ ขาดตลาดรองรับผลผลิตการเกษตร ด้านการประหยัด เงินออมทรัพย์ค่อนข้างน้อย ด้านการเรียนรู้ คนรุ่นใหม่ไม่ใส่ใจที่จะสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่มีการปลูกป่าทดแทน และด้านการเอื้ออารี คนร่วมกิจกรรมในชุมชนมีจำนวนน้อย  3) ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยภายในได้แก่ บทบาทที่โดดเด่นของผู้นำ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การมีพุทธศาสนาและวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ความสามัคคีในชุมน การจัดเวทีชุมชน สภาพพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และชุมชนภายนอก

 

Abstract

                This research had the objective of studying the success of a sufficiency-economy village.  The factors affecting success are derived from three sources of data:  (1) Local leaders; (2) government staff; and (3) representatives of the village community.  Data were collected using in-depth interviews, non-participatory observation, and document review.

                The study found that this successful sufficiency-economy village had model community leaders in the area of practicing a sufficiency lifestyle, serving as advisors and as a coordination link with government officials, having a sense of communal sacrifice, formation of occupation support groups so that villagers can help each other, a local determination toward self-reliance, and family self-sufficiency. There were problems and obstacles in creating a sufficiency-economy village in the area of reducing net household expenses since some households did not have sufficient capital to pursue income-generating alternative occupations.  Also, there were a lack of markets for the agricultural products produced by the community.  There was only a limited amount of savings.  The new generation was not particularly interested in culture and customs of the past.   There was not enough reforestation or participation in local aid activities. The factors contributing to the success of the sufficiency-economy village included internal factors such as the strong role of the community leader, convening public forums, and an enabling agricultural environment.  External factors include support from government offices and other communities.

 

คำสำคัญ: หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

Keyword: Sufficiency Economic Village

Downloads

Published

2016-04-05

How to Cite

โคตะยันต์ จ., & สมโสภณ ว. (2016). ความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” Success on Development of Sufficiency Economy Village. Local Administration Journal, 4(3). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88315