การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของหาดบึงเกลือ Development of Ecotourism Management of Bungklue

Authors

  • จิรัชยา บุญไตร
  • คูณ โทขันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาหาดบึงเกลืออำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตตำบลบึงเกลือและเพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในเขตตำบลบึงเกลือโดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 ราย

ผลการศึกษา พบว่าปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของหาดบึงเกลือคือ การขาดแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนโครงสร้างพื้นฐานงบ ประมาณในการสนับสนุนการท่องเที่ยวไม่เพียงพอ และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นจากการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลบึงเกลือ พบว่าจุดเด่นของตำบลบึงเกลือคือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ส่วนจุดอ่อนอยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอต่อการอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวที่ตำบลบึงเกลือ ด้านโอกาสของตำบลบึงเกลือ คือจังหวัดร้อยเอ็ดมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยประกาศให้ปี2552-2556 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวร้อยเอ็ด

แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของหาดบึงเกลือคือการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนซึ่งประกอบด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้ คือ 1)สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่ม เป้าหมาย 3) ระดมทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและ 4) ปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการในตำบลบึงเกลือให้มีการศึกษาเรียนรู้ด้านประเพณีวัฒนธรรมและนิเวศวิทยาของหาดบึงเกลือ

 

 

 

 

Abstract

                The objective of this research was to study development of ecotourism management through a case study of Tambon Had Bungkleua in Selaphum District of Roi Et Province. The study aimed to review the potential for ecotourism in the Tambon and propose guidelines for improving ecotourism in the locality. Data were collected by in-depth interviews and focus group discussions with 15 key informants.

                This study found that the problems in development of ecotourism in this Tambon included the lack of a strategic plan of support for the community, infrastructure and budget limitations to support ecotourism, and lack of local participation of the population. A key attribute of the Tambon included the variety of tourist destinations in the Tambon. A weakness was the inadequate infrastructure to provide enough conveniences for the tourists. There is an opportunity for improvement through support by the Roi Et provincial policy to promote ecotourism by announcing the years 2009-13 as Roi Et tourism promotion years.

                Guidelines for improving the capacity of the Tambon for ecotourism include: (1) Creation of a network for ecotourism; (2) Improvement of the infrastructure so that the target tourists are satisfied; (3) Mobilization of internal and external community resources to support ecotourism; and (4) Creation of a mindset among the new generation to contribute to the community welfare and preservation of the local customs and cultural to enhance ecotourism in the area.

 

คำสำคัญ : การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Keyword: Development of Ecotourism Management

Downloads

Published

2016-04-05

How to Cite

บุญไตร จ., & โทขันธ์ ค. (2016). การพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของหาดบึงเกลือ Development of Ecotourism Management of Bungklue. Local Administration Journal, 4(3). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88316