แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม (Potential Development of Community Enterprise of Wailum Village)

Authors

  • นงนุช อิ่มเรือง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

แนวทางพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน, Potential Development of Community Enterprise

Abstract

รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดกำเนิดการบริหารจัดการ   ปัจจัยแห่งความสำเร็จและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม  โดยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก  และการสนทนากลุ่ม  ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งผู้นำกลุ่มที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ  รวมทั้งตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 

ผลการศึกษาพบว่า  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึมเกิดขึ้นจากการรวมตัวของสตรีที่มีฝีมือในการทอผ้าไหมเพื่อหารายได้เสริมจากฤดูทำนา  ประกอบกับชุมชนมีสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรมเท่าที่ควรส่งผลให้ประชาชนหันมาทอผ้าไหมเป็นอาชีพเสริมเพิ่มมากขึ้น  การบริหารจัดการกลุ่ม  ไม่ว่าจะเป็นด้านการดำเนินงาน   ด้านการผลิต  ด้านการตลาด  และด้านเงินทุน  เป็นไปอย่างมีระบบ    แต่ด้านเงินทุนมีข้อจำกัดของแหล่งเงินทุนที่มีผลต่อปัจจัยการผลิต    ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มจะมาจากการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน โดยเฉพาะขั้นตอนการผลิตที่กลุ่มมีสมาชิกที่มีทักษะฝีมือการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจึงมีคุณภาพ  พร้อมกันนั้นกลุ่มก็มีกระบวนการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา   มีการเชื่อมโยงเครือข่ายในด้านต่างๆ   ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ   และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม   ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการบันทึกลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ลายต่าง ๆ ลงในสื่อ  เพื่อเป็นหลักฐาน ถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ  ประกอบกับมีการพัฒนาความรู้ของคณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม  ในด้านการผลิต การตลาด ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาและสามารถแข่งขันกับวิสาหกิจกลุ่มอื่นได้อย่างยั่งยืน

 

Potential Development of Community Enterprise of Wailum Village

This research had the objective of studying the origins of successful management and capacity building of a community enterprise for silk weaving in Wailum Village.  Data were collected from existing documents and from in-depth interviews and focus group discussions.  Data were collected from formal and non-formal group leaders and members of the community enterprise.

The results of the study found that the Wailum silk weaving group was formed by the local initiative of a group of skilled weavers in order to generate supplemental income in the non-rice farming season.  The local terrain of the village is not conducive to alternative crop farming, so the villagers turned to silk weaving to generate income.  All aspects of group management from production and marketing to finance are very orderly and systematic.  However, the limited capital inputs limit the production potential of the group.  The factors behind the success of the group include efficient management, skills in producing uniformly quality product, and a continuing effort to learn new techniques and improve performance.   There is linked networking and support from government agencies.  Guidelines for improving the capacity of the group include the need to document the type of Mud Mee design used in the material as evidence for each product.  In addition, there needs to be a transfer of the traditional wisdom of silk weaving to the next generation.  Finally, the group and group members need to have the opportunity to continue to learn in areas of production and marketing in order to stay competitive over the long term.

Downloads

Published

2016-03-15

How to Cite

อิ่มเรือง น., & มงคลศรีสวัสดิ์ ส. (2016). แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม (Potential Development of Community Enterprise of Wailum Village). Local Administration Journal, 4(2), 1–15. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88320