กลไกในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ (Development Strategy for Banmai Market)

Authors

  • สมร อร่ามวงษ์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พิชญ์ สมพอง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

กลไกในการพัฒนา, Development Strategy

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลไกสำคัญในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ให้เป็นตลาดโบราณที่ยั่งยืนตลอดไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่เอกสารทางวิชาการและเอกสารทางราชการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth interview) ผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ได้แก่ นายกเทศมนตรี เมืองฉะเชิงเทรา และคณะกรรมการบริหารตลาดบ้านใหม่ จำนวน 11 คน

ผลการศึกษาพบว่า  กลไกในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ ประกอบด้วยลักษณะทางกายภาพของตลาด คณะกรรมการบริหารจัดการตลาดที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งกลไกทั้งสามอย่างมีหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน ทำให้ตลาดบ้านใหม่เป็นตลาดที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรมและประเพณี เป็นตลาดท่องเที่ยว เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์และสินค้าเป็นจำนวนมากที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน และมีบริการการท่องเที่ยวทางด้านอื่นๆสนับสนุนการมีส่วนผสมทางการตลาดการท่องเที่ยวของตลาดบ้านใหม่ แนวทางในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ให้เป็นตลาดโบราณที่ยั่งยืนคือการปรับปรุงตัวอาคาร โดยอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเดิมไว้ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆให้มากขึ้น การรักษาความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิต การจัดหาเจ้าหน้าที่ผู้ประกอบการและตัวแทนชุมชนไปศึกษาดูงานตลาดโบราณแห่งอื่นที่ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมกิจกรรมต่างๆในตลาดเพิ่มขึ้น การมรไกด์อาสาให้ข้อมูลตลาดบ้านใหม่ในแง่มุมต่างๆ การสร้างตราสัญลักษณ์ของตลาดเอง การอนุรักษ์และการรักษาธรรมชาติของตลาดให้คงอยู่ตลอดไป

 

Development Strategy for Banmai Market  

This research had the objective of studying the strategy used to develop the Banmai Market as a sustainable attraction through the promotion of traditional products and practices. Data were collected from the review of technical and government documents and related research, and from in-depth interviews with key informants, including the mayor of Chacherngsao City and members of the Banmai Market steering committee. A total of eleven persons provided data.

This study found that the development strategy for the Banmai Market includes a focus on the physical layout of the market, a strong management committee, and support from external agencies. These three strategies should be mutually supporting. The theme of the market is tourism development through highlighting local culture and customs in a market setting. The market environment is being recreated to restore old buildings and features to evoke a sense of the past which can be sustained. Public relations media for the market are produced in a variety of formats and in greater quantity. There is a need to preserve and emphasize the unique aspects of the community and lifestyle. The business owners, staff, and community representatives need to have the opportunity for study tours to other traditional markets that have been successful. There needs to be constant innovation of market-based activities, maintaining a cadre of volunteer guides, and promoting the unique features and sustainable natural environment. 

Downloads

Published

2016-03-16

How to Cite

อร่ามวงษ์ ส., & สมพอง พ. (2016). กลไกในการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ (Development Strategy for Banmai Market). Local Administration Journal, 4(2), 78–86. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/88326