การคัดเลือกสีเพื่อทาสีอาคารเก่าบริเวณตลาดอัมพวา (Color design for old building in Amphawa market)
Keywords:
การคัดเลือกสีเพื่อทาสีอาคารเก่า, Color design for old buildingAbstract
ในการศึกษาวิจัยการคัดเลือกสี เพื่อทาสีอาคารเก่าบริเวณตลาดอัมพวาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของตลาดอัมพวาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อยกระดับสถานที่ท่องเที่ยวของไทยให้มีศักยภาพระดับสากล อัมพวา เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมายาวนานเป็นชุมชนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรม ศิลปกรรม ตลอดจนสถาปัตยกรรม อันล้วนเป็นสมบัติอันมีค่าทางประวัติศาสตร์และยังคงสัมผัสได้ สีสันของเมืองอัมพวามีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าผู้คน บ้านเรือนและชีวิตความเป็นอยู่ ดังนั้นเรื่องราวของการทาสี จึงเริ่มจากการศึกษาประวัติศาสตร์ของพื้นที่นำมากลั่นกรองเป็นโครงสี เพื่อให้เจ้าของอาคารและผู้พักอาศัยมีส่วนร่วมในการเลือกสีที่ถูกใจที่สุดสำหรับกิจการของตนเอง โครงสีหลักที่นำมาใช้จะเป็นสีเขียวคือความเป็นมาของธรรมชาติของสวนผลไม้เช่น มะพร้าว มะม่วง ฯลฯ และมาจากการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองอัมพวา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประสูติ ณ.เมืองอัมพวา เมื่อวันพุธที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐ สีประจำวันพุธคือสีเขียว จึงเป็นสีที่สมควรนำมาสร้างเป็นสีมงคลเพื่อเป็นเกียรติเป็นศรีแก่เมืองอัมพวาเป็นอย่างยิ่ง ส่วนโครงสีรองจากสีเขียวคือสีเหลืองและสีชมพู สีเหลืองเป็นสีดั้งเดิมที่ทาทั่วไปบนอาคาร ส่วนสีชมพูซึ่งเป็นสีแดงผสมขาวจนสบายตานั้น ได้มาจากสีของเปลือกและเนื้อผลของลิ้นจี่ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจขึ้นชื่อชนิดหนึ่งของอัมพวา เป็นสีที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมเรือนปั้นหยาในสมัยราชกาลที่ ๕ และเรือนไทยโดยนำมาปรับสีให้เหมาะสมกับอาคารพาณิชย์ สรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ทำให้คนในชุมชนสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องราวที่มาของสี ความเปลี่ยนแปลงและคุณค่าของสี ที่เกิดขึ้นของตึกแต่ละหลังได้อย่างภาคภูมิใจ
Color design for old building in Amphawa market
This research studied the selection of colors for redecoration of traditional structures in the vicinity of the Amphawa Market. The purpose was to identify unique attributes of the Market as a means of promoting its popularity and to support the efforts of the local administrative organizations in promoting tourism and building capacity for tourism for international standards. The Amphawa “old town” area has been famous for quite some time for its preservation of traditional culture, customs, and architecture. In this way, Amphawa also has historical value and is tangible evidence of the quality of traditional wisdom. In preparation for the color redecoration project, there was an initial review of the historical features of the locality. This information was synthesized to produce an optimal color scheme. This process involved full participation of the local building owners and residents, who were allowed to choose which colors would be used for their structures. The core color for the scheme was green, as it reflects the natural feature of the orchards of fruit, coconut, mango, etc. The historical review documented the birth of King Rama II in Amphawa City on Wednesday, February 24, 1768, and green is the standard color for Wednesday. Thus, green is an auspicious color to serve as the background theme of the color scheme of Amphawa Old Town. The secondary colors of the scheme are yellow and pink. The pink pigment was derived from the skin and meat of the lychee fruit, which was a key economic product of the area for a long time. The color was influential in the Panya architectural movement of the period of the reign of Rama V for both houses and commercial establishments. In sum, full participation of the local community helps to extract historical wisdom and knowledge about the origins of colors and pigments, changes and value of the different colors of the different structures, and a sense of pride in the local antiquity.Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The copyright of all articles published in the Local Administration Journalis owned by the College of Local Administration, Khon Kaen University.