การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบ การบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว

Authors

  • กตัญญู แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Keywords:

Anti-corruption, ต่อต้านทุจริต

Abstract

การศึกษาการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงาน (อสต.)  กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากบทเรียนอาสาสมัครร่วมตรวจสอบการบริหารงาน ระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และเทศบาลเมืองบัวขาว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  

ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบการทำงานเป็นพื้นฐานในการต่อต้านการทุจริตซึ่งทั้งสองพื้นที่มีลักษณะการตรวจสอบการทำงาน ดังนี้ รูปแบบวิธีการทำงานของ อสต. ในการตรวจสอบการทำงานของเทศบาลนั้นจะมีการแบ่งหน้าที่การทำงานในแต่ละส่วนเพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของเทศบาลมีการประเมินผลงานของเทศบาล ประเมินผลหน่วยงาน การติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการ ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นและเป็นประเด็นที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดในการทำงานของ อสต. ของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ในการเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมือง บัวขาว พบว่าเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์มีการติดตามตรวจสอบผ่าน 3 ส่วนคือ จากผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป และ อสต. ขณะที่เทศบาลเมืองบัวขาวนั้นไม่มี อสต. แต่การดำเนินการตรวจสอบผ่านประธานชุมชน ทั้งนี้ทั้งสองเทศบาลมีผู้นำชุมชนมีความกระตือรือร้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาวิจัยในช่วงดังกล่าวยังไม่ปรากฏการทุจริตในเทศบาลเมืองทั้งสองแห่ง

 

Anti-Corruption in Local Administration Organizations as Learnt from Volunteer Examiners: A Comparative Case Study of Kalasin Town Municipality and Bua Khao Town Municipality 

This study aimed to extract lessons on comparison of anti-corruption in local administration organizations from volunteer examiners of public administration in Kalasin Town Municipality and Bua Khao Town Municipality. Samples were purposively selected as a case study according to the aim and the main research instrument was semi-structured interviews with open-ended questions.

Findings indicate that, in preventing local corruption, volunteer examiners carried out various tasks, including public project monitoring, municipal performance evaluation, and sectional performance evaluation.  Public project monitoring was regarded as an outstanding feature and the most concrete evidence of volunteer examiners’ effectiveness in Kalasin Town Municipality.  In Kalasin Town Municipality, corruption monitoring and prevention were carried out by three sectors: community leaders, general people, and volunteer examiners.  In contrast, Bua Khao Town Municipality had no volunteer examiners and corruption monitoring and prevention were done by community leaders.  Community leaders in the two municipalities actively participated in monitoring and preventing corruption and, at the time of study, corruption was not found in both municipalities.

Downloads

Published

2017-07-09

How to Cite

แก้วหานาม ก., & แก้วหานาม พ. (2017). การต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากอาสาสมัครร่วมตรวจสอบ การบริหารงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์กับเทศบาลเมืองบัวขาว. Local Administration Journal, 10(2), 17–43. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/92073