ผลกระทบของการนำรูปแบบการบริหารแบบเศรษฐกิจพิเศษที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

Authors

  • วะนิลา ออนประดิษ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

Special Economic Zone, Savannakhet, Lao PDR, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, สะหวันนะเขต, สปป.ลาว

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของการนำรูปแบบการบริหารเศรษฐกิจพิเศษที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการนำรูปแบบการบริหารเศรษฐกิจพิเศษที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการนำรูปแบบการบริหารเศรษฐกิจพิเศษไปใช้การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนในเมือง ไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการคัดเลือกแบบเจาะจงมีจำนวน 52 คน การศึกษาพบว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน ซึ่งเนื้อที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษบางส่วนจะเป็นพื้นที่นาและสวนของประชาชนที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยให้อย่างเหมาะสมนอกจากนี้การเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษยังทำให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีการขยายตัวสูงขึ้นและยังทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหรือความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า กรรมกร/แรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะการทำงานเนื่องจากเปลี่ยนอาชีพมาจากชาวนาที่ไม่มีวุฒิการศึกษาสูง นอกจากนั้นยังพบว่า เนื่องด้วยมีแรงงานจากที่อื่นเข้ามาทำงานและนักธุรกิจทั้งภายในและต่างประเทศเข้ามาพักอาศัยทั้งระยะสั้นและยาวนาน ทำให้การจัดทำทะเบียนราษฎร์ประสบความยุ่งยากลำบาก  ในด้านข้อเสนอแนะของประชาชน พบว่า ภาครัฐควรเวนคืนที่ดินในอัตราที่สูงขึ้น และควรมีจัดการฝึกอบรมทักษะด้านวิชาชีพและดูแลด้านสวัสดิการ เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ และยกระดับความเป็นอยู่ของกรรมกร/แรงงานให้ดีขึ้น

 

Impact of Special Economic Administration on the Quality of Life of the Population  in Savannakhet Province, Lao PDR

This research had the following objectives: (1) to study the impact of a model of special economic management on the quality of life of the population in Savannakhet Province of Lao PDR; (2) to study the problems and obstacles in application of the model; and (3) to propose recommendations for application of the model to improve quality of life.  This was a qualitative research study which employed in-depth interviews, focus group discussion, and participant observation. Data were collected from 52 key informants who lived in the city of Kaysone Phomvihane.

This study found that that some residents were impacted by land expropriation because the special economic site partially encompassed their rice paddies and orchards. The government provided appropriate compensation to the land owners.  This model program also stimulated economic growth in the local communities and helped changed residents’ way of life and relationships with family members. A key obstacle was that the model program lacked skilled labor because most of the works were rice farmers who did not have higher education.  Another problem was the hiring of labor from other locations, both local nationals and non-nationals, for short and long-term stays, made civil registration more burdensome. The government should reconsider its policy of land expropriation. There should be occupational development trainings, welfare programs, and rights protection mechanisms to ensure quality of life and fairness for the labor class.

 

Downloads

Published

2017-07-07

How to Cite

ออนประดิษ ว. (2017). ผลกระทบของการนำรูปแบบการบริหารแบบเศรษฐกิจพิเศษที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว. Local Administration Journal, 10(2), 44–69. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/92079